ศูนย์ CED-Square ร่วมแถลงข่าว โครงการ TU Care & Ageing Society ‘ธรรมศาสตร์’ เพื่อนร่วมทางสังคมสูงวัย4/30/2025 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คาดการณ์ว่า ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ประชากรไทยราว 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 20 ล้านคนจะเป็นผู้สูงอายุ เมื่อสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่อัตราการเกิดใหม่ลดต่ำลง ประเทศไทยก็จะมีประชากรวัยทำงานน้อยลงตาม หากวิเคราะห์กันตามสถิติ ในอนาคตอีก 10-15 ปีข้างหน้า นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่โลกของการทำงาน จะต้องเหนื่อยกว่าคนในปัจจุบันมาก เพราะจากสัดส่วนประชากรบ่งชี้ว่า นอกจากจะต้องดูแลชีวิตของตัวเองแล้ว ยังจะต้องหารายได้สำหรับดูแลผู้สูงอายุ รวมไปถึงการทำหน้าที่พลเมืองอย่างการจ่ายภาษีให้กับภาครัฐ การดูแลฟื้นฟูดูแลผู้สูงอายุในด้านกายภาพ ธรรมศาสตร์พยายามที่จะนำนวัตกรรมฟื้นฟูร่างกายลงไปในพื้นที่ชุมชนให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบุว่า “ผู้สูงวัยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองถึง 60-70% ที่พิการถาวร และต้องการความช่วยเหลือกว่าผู้สูงอายุทั่วไป ซึ่งเขาต้องการจำนวนครั้งที่สม่ำเสมอในการทำกายภาพบำบัด ถึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงกับคนปกติ ฉะนั้นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งข้อได้เปรียบของการฟื้นฟูในชุมชน ได้แก่ สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีค่าเดินทางไปฟื้นฟูที่ต่ำ ไม่จำเป็นต้องปิดเปิดตามเวลาราชการ บรรยากาศการฟื้นฟูเป็นกันเอง เพราะคนรู้จักกันในชุมชน ทั้งยังสามารถติดตามผลการฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จด้วยเหตุผลก็คือ ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับชุมชน” อาจารย์บรรยงค์กล่าวต่อไปว่า นวัตกรรมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาตามโจทย์ของแต่ละพื้นที่ อุปกรณ์ที่ผลิตจากลักษณะทางกายภาพของชาวตะวันตก ก็อาจใช้ไม่ได้ประสิทธิภาพเมื่อใช้กับกับรูปร่างคนเอเชีย นี่คือโจทย์หนึ่งของเรา และนวัตกรรมต้องมีระบบติดตามผลแบบ IoT (Internet of Things) เพราะนักกายภาพบำบัดไม่ได้เข้ามาในชุมชนทุกวัน และคนที่ทำหน้ากายภาพบางครั้งก็เป็น อสม.ที่ไม่ได้เทรนมาทางด้านฟื้นฟูกายภาพโดยตรง ดังนั้นจึงต้องการนวัตกรรมที่ใช้งานได้และดูแลรักษาง่าย อีกหนึ่งสิ่งคือราคาเป็นปัจจัยสำคัญ นี่คือเงื่อนไขของธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ธรรมศาสตร์มีนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จแล้ว เช่น ประเภทเครื่องฟื้นฟู่ร่างกายส่วนล่าง (Lower Limb Rehab Innovation) อย่างเครื่อง Standing Wheelchair, Sit2Stand Trainer, I-walk และ Space Walker ซึ่งผ่านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ และผ่านการใช้งานประโยชน์จริงเป็นวงกว้างแล้ว https://themomentum.co/report-tu-care-ageing-society/
0 Comments
“ธรรมศาสตร์” เปิดวงถกสถานการณ์ปัญหาสังคมสูงวัย นักวิชาการสะท้อนสังคมไทยประสบปัญหา คนแก่เยอะ แก่เร็ว แต่แก่ไม่ดี จี้ภาครัฐผลิตนักจัดการสังคมสูงวัยในชุมชนและให้สิทธิลา Family Caregiver ขณะที่ “คณบดีสหเวชศาสตร์” ชี้โรค NCDs-พลัดตกหกล้ม-ข้อเสื่อมและสมองเสื่อม เป็นปัญหาสำคัญผู้สูงอายุ พร้อมหนุน อปท.- รพ.สต.ถ่ายโอนฯ ดูแลประชาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงานแถลงข่าว KICK OFF โครงการ TU Care & Ageing Society ‘ธรรมศาสตร์’ เพื่อนร่วมทางสังคมสูงวัย เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 ประกาศความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลประชาชนและรับใช้สังคมท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายสังคมสูงวัย โดยภายในงานมีการจัดเวทีเสวนา Talk & Share: TU Care & Ageing Society ซึ่งมี 4 นักวิชาการธรรมศาสตร์ร่วมให้มุมมองถึงสถานการณ์ และแนวทางที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับสังคมผู้สูงวัยในประเทศไทย ผศ. ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า แม้หลายท้องถิ่น จะมีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุอยู่ในชุมชน แต่ก็ถือว่าความสำเร็จในการฟื้นฟูยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นั่นเป็นเพราะความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับชุมชน ไม่ตอบโจทย์ในแง่ประสิทธิภาพและการใช้งาน ทั้งนี้ โจทย์การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมฟื้นฟูสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย จะต้องสามารถลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ได้ โดยมีระบบเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต (IOT) สำหรับการประเมินผลทางไกล สิ่งที่สำคัญ คือ สามารถใช้งานและดูแลรักษาง่าย รวมไปถึงมีราคานวัตกรรมที่ไม่แพงมากนัก ทำให้ศักยภาพระดับชุมชนและครัวเรือนเข้าถึงได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ เงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เป็นฐานคิดในการออกแบบนวัตกรรมให้กับผู้ป่วยและผู้สูงวัย https://hfocus.org/content/2025/05/34035 The locally produced ‘Arm Booster’ is 10 times cheaper and can be used to rehabilitate stroke patients in remote areas, says professorThammasat University has developed a device to help stroke patients restore strength in their arms at a price that is 10 times lower than the imported ones.
The product, called the “Arm Booster”, was developed by Thammasat’s Centre of Excellence in Creative Engineering Design and Development (CED2). The innovation won a gold medal in technology at the i-CREATe 2022 (International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology) in Hong Kong. CED2 chief Assoc Prof Dr Banyong Rungruangduayboon said the Arm Booster costs about 400,000 baht compared to the imported versions that can cost up to 4 million baht. According to Banyong, the CED2 Arm Booster allows stroke patients to develop muscle strength in both arms, not just the arm that is weakened by the stroke. The machine works on the principle of the patient using the stronger arm to help the weak one regain strength. The machine is installed with a monitor and games to keep the patients entertained so they exercise longer. Both handles have sensors to measure pressure from both hands, and this data is sent to the machine to process and report the results and progress of the exercise on the display screen. Banyong said the Arm Booster will benefit Thailand as it is transforming into a super-aged society. He said on average, Thailand sees some 250,000 stroke patients per year and many of them end up with paralysed arms. Hence, he said, he wanted to see more Arm Booster machines installed in tambon hospitals nationwide, so fewer people are paralysed. https://www.nationthailand.com/health-wellness/40042617 ชวนรู้จัก “Arm Booster” นวัตกรรมไทยดูแลกล้ามเนื้อผู้สูงวัย จากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นำร่องใช้แล้วใน 3 สถานพยาบาล ราคาถูกกว่าต่างประเทศ 10 เท่า"Arm Booster" หรือ อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขนแบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลงานจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การนำของ ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมของการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ Super Aged Society ในไทย
https://www.posttoday.com/smart-life/714600 https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-1676456 https://www.thecoverage.info/news/content/7577 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ป่วยติดเตียง” จะเป็นไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญคือองค์ความรู้ในการดูแล และการดูแลอย่างใกล้ชิด
ไม่ว่าจะสังเกตเห็นหรือไม่ก็ตาม ข้อเท็จจริงก็คือร่างกายของมนุษย์จะถูกบีบคั้นจากความทุกข์อยู่เสมอ เมื่อร่างกายต้องทำอะไรเดิมๆ อย่างเดียวเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถหลบเลี่ยงหรือไม่สามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถอื่นได้ ร่างกายย่อมได้รับบาดเจ็บ “แผลกดทับ” เป็นหนึ่งในภัยสุขภาพที่คุกคามผู้ป่วยติดเตียงอย่างรุนแรง สาเหตุหลักคือการนอนในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน น้ำหนักตัวก็จะกดทับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย จนอวัยวะนั้นๆ ได้รับบาดเจ็บ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่ถูกน้ำหนักกดทับจะถูกทำลาย เนื้อจะตายและกลายเป็นแผล ซ้ำร้ายกว่านั้นคือบริเวณที่มักจะเกิดแผลกดทับส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น เส้นเท้า ก้นกบ ข้างสะโพก ผู้ป่วยจึงเจ็บปวดทุกข์ทรมาน เพื่อป้องกันปัญหาแผลกดทับ ผู้ป่วยติดเตียงควรได้รับการพลิกตัวอย่างน้อยคือ “ทุกๆ 2 ชั่วโมง” ซึ่งนอกเหนือจากระยะเวลาที่ต้องสม่ำเสมอแล้ว องค์ความรู้เกี่ยวกับการ “พลิกตัวผู้ป่วย” ก็สำคัญมาก ทั้งหมดถือเป็นศาสตร์ที่ต้องทำอย่างถูกต้อง อาทิ การจัดท่าทาง การออกแรง ซึ่งจะสัมพันธ์กับความเปราะบางของร่างกายผู้ป่วย โดยเฉพาะถ้าหากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ “เตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับ” นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นจากอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม จากผู้เข้าร่วม “มหกรรมงานวิจัย 90 ปี นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 ก.ย. 2567 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นั่นเพราะเตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถแก้ Pain Point ที่หลายๆ ครัวเรือนกำลังประสบอยู่ เตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับเป็นผลงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมคณะ ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยได้ผนวก 2 ศาสตร์เข้าด้วยกัน ได้แก่ ศาสตร์พยาบาลระดับสูงในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และศาสตร์ด้านวิศวกรรมในการผลิต “นวัตกรรมต้นแบบ” ขึ้นมารับใช้สังคม https://www.thecoverage.info/news/content/7515 KEY POINTS
จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุหกล้มทุกปี หรือปีละกว่า 3 ล้านราย หรือ 20%ของผู้หกล้มเกิดการได้รับบาดเจ็บ โดยปี 2565 มีรายงานผู้ป่วยใน (IPD) จากสาเหตุพลัดตกหกล้ม จำนวนสูงถึงเกือบเก้าหมื่นราย ผู้สูงอายุกว่าหมื่นรายบาดเจ็บบริเวณต้นขา ข้อสะโพก และ 20%ของผู้ที่สะโพกหัก มีโอกาสเสียชีวิตภายใน 1 ปี การพลัดตกหกล้มเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสอง รองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน (ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ) สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการลื่น สะดุด ก้าวพลาด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพและเสียชีวิตกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัว คนรอบข้าง และผู้ดูแล “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนางานวิจัย และวิชาการเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และในวาระโอกาสของการเฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ธรรมศาสตร์จึงได้ประสานความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัด “มหกรรมงานวิจัย 90 ปี นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน” ขึ้น ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bacc) ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2567 เวลา 10.00-16.00 น. https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1144128 Arm booster' นวัตกรรมกายภาพแขนฝีมือคนไทย แก้ปัญหาอุปกรณ์ราคาแพง ผลักดันการเข้าถึงเครื่องมือทางการแพทย์ หวังเสริมพลังใจและลดรายจ่าย ให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง...
สกู๊ปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมวันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ชวนผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับเรื่องราวความเก่งของคนไทย ที่ร่วมใจกันพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อหวังแก้ปัญหาอุปกรณ์ราคาแพง และอยากให้คนไทยเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น อุปกรณ์ที่เราพูดถึงมีชื่อว่า 'Arm booster' ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อการทำกายภาพบำบัดแขนแบบ Bilateral สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผลงานนี้มีดีกรีที่ไม่ธรรมดา เพราะ เคยรับได้รางวัลชนะเลิศ Gold Medal จากงาน iCREATe 2022 ที่ฮ่องกง มาแล้วด้วย นวัตกรรมนี้เป็น 1 ในซีรีส์วิจัยที่ทาง ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ หรือ CED-Square Innovation Center และอาจารย์ผู้ร่วมทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สรรค์สร้างและพัฒนา ที่บอกว่าเป็น ซีรีส์ เพราะงานวิจัยที่ CED-Square Innovation Center ทำขึ้น ไม่ได้มีแค่ Arm booster แต่ยังมีอุปกรณ์ทำกายภาพส่วนล่างมาก่อนแล้ว เช่น Space Walker นวัตกรรมช่วยเดินแบบพยุงน้ำหนักบางส่วน ที่เคยได้รับรางวัลระดับชาติ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยฝึกเดินโดยที่ไม่ต้องกลัวล้ม เพิ่มความมั่นใจ เหมือนกับมีชีวิตใหม่ดีๆ อีกครั้ง อย่ารอช้า… เชิญพบกับเรื่องราวแห่งการรังสรรค์ "นวัตกรรมไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย" https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2760284 วันที่ 26 มกราคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานแถลงข่าวการจัดงานวันนักประดิษฐ์ และรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 25 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เครื่องกลเติมอาการที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ซึ่งพิเศษสุด ปีนี้ วช. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2567 และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เข้าเฝ้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการแถลงข่าว ณ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ชั้น 1 อาคาร วช. 8
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. ได้จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 อย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งในวันที่ 2 กุมภาพันธุ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 ให้กับนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทย ทั้งในส่วนรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น และรางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวนกว่า 170 รางวัล https://www.naewna.com/relation/783279/preview แหล่งข่าวอื่นๆ https://www.dailynews.co.th/news/3119929/ https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8069883 https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4396053 https://www.bangkokbiznews.com/news/prnews/1110505 จากการสํารวจผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ตามการคัดกรองความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน พบผู้สูงอายุติดเตียงร้อยละ 0.5-1 ของผู้ป่วยทั้งหมด (กรมอนามัย,2565) ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะปัญหาแผลกดทับ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
ปัญหาแผลกดทับ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบอ่อนแรง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ส่งผลต่อทั้งตัวผู้ป่วยที่ต้องทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวด การติดเชื้อ ความวิตกกังวล รวมทั้งญาติและครอบครัวที่ต้องรับภาระดูแลด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ค่าบริการดูแลผู้สูงอายุ อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้สูงอายุติดเตียง 24 ชั่วโมงของสถานบริการต่างๆ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล อยู่ระหว่าง 16,000-40,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1057986 วีลแชร์ช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชนและการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพในสังคม
นวัตกรรมวีลแชร์แบบปรับยืนได้ฝีมือคนไทย ผลงานของ บริษัท ซีเมดเมดิคอล จำกัด (CMed Medical เป็นสตาร์ตอัปจากนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง ในการส่งเสริมธุรกิจของโครงการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สกอ.) มีข้อพิเศษคือสามารถปรับจากท่านั่งที่เป็นรถเข็นหรือวีลแชร์แบบธรรมดา มาเป็นท่ายืนได้โดยตัวผู้ใช้เอง และไม่ต้องใช้ไฟฟ้า www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1055307 |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|