สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบรางวัลประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2560 ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” ณ Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานมอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตร เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้แก่กลุ่มอาจารย์และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปี 2560 โดยจัดกิจกรรม บ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอุดมศึกษา เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสายอุดมศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนข้อเสนอโครงการและพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถพัฒนาผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ รวมถึงมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม กิจกรรมดังกล่าวได้กำหนดกลุ่มเรื่องสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จำนวน 5 กลุ่มเรื่อง กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว กลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม การศึกษา และสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รวมจานวนทั้งสิ้น 103 ผลงาน ทั้งนี้ จากการพิจารณาคัดเลือกตามกระบวนการมอบรางวัล ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา และรางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์และน วัตกรรมสายอุดมศึกษา ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสำปะหลัง แบบเปรียบเทียบสีโดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานน้ำมันบริโภคผสมจากน้ำมันปาล์มโอเลอินเเละน้ำมันงาขี้ม้อนที่มีอัตราส่วนของไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 เหมาะสมต่อสุขภาพ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานน้ำมะม่วงซินไบโอติกจากมะม่วงแก้วขมิ้น จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานการผลิตแผ่นแปะผิวหนังโดยใช้อนุภาคนาโนนาส่งสารเรสเวอราทรอลและกรดไลโปอิกสำหรับสลายไขมัน ใต้ผิวหนัง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานฝุ่นเงิน (Silver Dust): ผงอนุภาคซิลเวอร์นาโนคุณภาพสูงพร้อมใช้สำหรับผู้ป่วยสูงวัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานสายสวนปัสสาวะเคลือบสารป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เตรียมจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยี สมองกลฝังตัว รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานโพลาร์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน สโคป: ชุดอุปกรณ์เสริมโพลาไรเซชันสำหรับกล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานการพัฒนาเครื่อพิมพ์สามมิติชนิดเลเซอร์หลอมเหลว สำหรับผงโดยใช้อุปกรณ์ให้ความร้อน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานแอปพลิเคชั่นระบบแอนดรอยด์เปิด-ปิดไฟฟ้าผ่านบลูทูธ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม การศึกษาและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานชุดอุปกรณ์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับเลนส์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานมนต์เสน่ห์แห่ง “เพอรานากัน” มรดกทางวัฒนธรรมสู่ผลงานเครื่องประดับ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานบ้านฉุกเฉิน สะเทิ้นน้าสะเทิ้นบก จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานการเพิ่มสมรรถนะการกลั่นเอทานอลรังสีอาทิตย์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิค จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานวัสดุคอมโพสิทผสมถ่านกัมมันต์เพื่อบาบัดน้าเสียในตู้ปลาสวยงาม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รางวัลระดับดี ได้แก่ ผลงานการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานลมรอบทิศทาง โดยการบังคับการไหลลงต่าง จากงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ส่วนรางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษา มีดังนี้ กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานชุดตรวจวัดปริมาณไซยาไนด์ในมันสาปะหลังแบบเปรียบเทียบสีโดยใช้อนุภาคนาโนโลหะคู่ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานการผลิตโปรตีน TCTP จากกุ้งก้ามกราม (MrTCTP) สำหรับป้องกันการติดเชื้อและลดอัตราการตายของลูกกุ้งก้ามกรามจากการติดเชื้อ MrNV จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับดี ได้แก่ ผลงานน้ำมันบริโภคผสมจากน้ำมันปาล์มโอเลอินเเละน้ำมันงาขี้ม้อนที่มีอัตราส่วนของไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 เหมาะสมต่อสุขภาพ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานชุดอุปกรณ์ช่วยฝึกเดิน I-Walk 4.0 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานเครื่องมือวัดประสิทธิภาพการเหยียดขาและซิตอัพ เพื่อสุขภาพ (v.๓) แห่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ระดับดี 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานเครื่องช่วยฟื้นฟูการเดินที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระโดยใช้ล้อแม็คคานั่ม จากมหาวิทยาลัยรังสิต และผลงานสายสวนปัสสาวะเคลือบสารป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เตรียมจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยี สมองกลฝังตัว รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานโพลาร์สโคป ชุดอุปกรณ์เสริมโพลาไรเซชันสำหรับกล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานระบบตรวจสอบและดูแลความปลอดภัยสำหรับอาคารสีเขียวอัจฉริยะ 1.0 ผ่านโทรศัพท์มือถือ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ระดับดี ได้แก่ ผลงานเครื่องพิมพ์ต้นแบบสามมิติชนิดหลอมเหลวบางส่วนแบบผง กลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม การศึกษาและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานโครงการออกแบบชุดของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการ โดยใช้แนวความคิดของเล่นพื้นบ้านไทยสาหรับเด็กอายุ 5-8 ปี จากมหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานปลานิล แห่งมหาวิทยาลัยทักษิณ ระดับดี ได้แก่ ผลงานโคมไฟชีวิต (LIFE) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน รางวัลระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานเครื่องลดการแพร่กระจายของสัตว์พาหะอาคารที่พักและห้องประกอบอาหารด้วยไอเย็นอิ่มตัวของน้ำหมัก EM ไร้มลพิษ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน รางวัลระดับดีมาก ได้แก่ ผลงานเครื่องผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการหมุนวนผ่านคลื่นไมโครเวฟร่วมกับท่อผสมแบบสถิต จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระดับดี ได้แก่ ผลงานการเพิ่มสมรรถนะการกลั่นเอทานอลรังสีอาทิตย์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิค จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มา : NNT สำนักข่าวแห่งชาติ http://nwnt.prd.go.th/CenterWeb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNICT6008260010002
0 Comments
Leave a Reply. |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|