CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

ศูนย์ CED-Square ร่วมแถลงข่าว โครงการ TU Care & Ageing Society ‘ธรรมศาสตร์’ เพื่อนร่วมทางสังคมสูงวัย

4/30/2025

0 Comments

 
Picture
ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คาดการณ์ว่า ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ประชากรไทยราว 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 20 ล้านคนจะเป็นผู้สูงอายุ เมื่อสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่อัตราการเกิดใหม่ลดต่ำลง ประเทศไทยก็จะมีประชากรวัยทำงานน้อยลงตาม หากวิเคราะห์กันตามสถิติ ในอนาคตอีก 10-15 ปีข้างหน้า นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่โลกของการทำงาน จะต้องเหนื่อยกว่าคนในปัจจุบันมาก เพราะจากสัดส่วนประชากรบ่งชี้ว่า นอกจากจะต้องดูแลชีวิตของตัวเองแล้ว ยังจะต้องหารายได้สำหรับดูแลผู้สูงอายุ รวมไปถึงการทำหน้าที่พลเมืองอย่างการจ่ายภาษีให้กับภาครัฐ 
​
การดูแลฟื้นฟูดูแลผู้สูงอายุในด้านกายภาพ ธรรมศาสตร์พยายามที่จะนำนวัตกรรมฟื้นฟูร่างกายลงไปในพื้นที่ชุมชนให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบุว่า
“ผู้สูงวัยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองถึง 60-70% ที่พิการถาวร และต้องการความช่วยเหลือกว่าผู้สูงอายุทั่วไป ซึ่งเขาต้องการจำนวนครั้งที่สม่ำเสมอในการทำกายภาพบำบัด ถึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงกับคนปกติ ฉะนั้นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งข้อได้เปรียบของการฟื้นฟูในชุมชน ได้แก่ สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีค่าเดินทางไปฟื้นฟูที่ต่ำ ไม่จำเป็นต้องปิดเปิดตามเวลาราชการ บรรยากาศการฟื้นฟูเป็นกันเอง เพราะคนรู้จักกันในชุมชน ทั้งยังสามารถติดตามผลการฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จด้วยเหตุผลก็คือ ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และขาดนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับชุมชน”
อาจารย์บรรยงค์กล่าวต่อไปว่า นวัตกรรมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาตามโจทย์ของแต่ละพื้นที่ อุปกรณ์ที่ผลิตจากลักษณะทางกายภาพของชาวตะวันตก ก็อาจใช้ไม่ได้ประสิทธิภาพเมื่อใช้กับกับรูปร่างคนเอเชีย นี่คือโจทย์หนึ่งของเรา และนวัตกรรมต้องมีระบบติดตามผลแบบ IoT (Internet of Things) เพราะนักกายภาพบำบัดไม่ได้เข้ามาในชุมชนทุกวัน และคนที่ทำหน้ากายภาพบางครั้งก็เป็น อสม.ที่ไม่ได้เทรนมาทางด้านฟื้นฟูกายภาพโดยตรง ดังนั้นจึงต้องการนวัตกรรมที่ใช้งานได้และดูแลรักษาง่าย อีกหนึ่งสิ่งคือราคาเป็นปัจจัยสำคัญ นี่คือเงื่อนไขของธรรมศาสตร์ 
อย่างไรก็ตาม ธรรมศาสตร์มีนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จแล้ว เช่น ประเภทเครื่องฟื้นฟู่ร่างกายส่วนล่าง (Lower Limb Rehab Innovation) อย่างเครื่อง Standing Wheelchair, Sit2Stand Trainer, I-walk และ Space Walker ซึ่งผ่านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ และผ่านการใช้งานประโยชน์จริงเป็นวงกว้างแล้ว

https://themomentum.co/report-tu-care-ageing-society/
​
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    April 2025
    October 2024
    September 2024
    February 2024
    January 2024
    March 2023
    February 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

[email protected]