CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

รถเข็นคนพิการปรับยืนได้-ระบบกลไก จากวิศวมธ. : ผู้จัดการ Online

12/18/2007

0 Comments

 

อาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างรถเข็นคนพิการปรับยืนได้โดยไม่ใช้ไฟฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาจนสามารถนำไปใช้งานได้จริง


       
ทั้งนี้ผลงานการสร้าง รถเข็นคนพิการปรับยืนได้โดยไม่ใช้ไฟฟ้า เป็นฝีมือของ ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองบุญ และ 3 นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ “ธาริน อรรถจริยา, ณัฐพล กัณหาบัว, ศุภลักษณ์ โคบุตรี”
       
       แนวคิดในการออกแบบนั้น ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าวว่ามาจากการเกิดอุบัติเหตุแล้วพบว่าสถิติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และผลจากอุบัติเหตุทำให้เกิดความพิการจากการสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว อาทิ การเป้นอัมพาตตั้งเเต่ช่วงเอวลงไป
       
       “แม้ว่าผู้ประสบอุบัติเหตุจะได้รับการรักษาบาดแผลแล้ว แต่ความพิการยังคงอยู่นั่นคือเขาไม่สามารถจะกลับมายืนได้เหมือนเดิม ทำให้สูญเสียในการทำงาน การประกอบอาชีพ และที่สำคัญคือส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ เพราะความพิการเป็นภาระแก่ผู้ดูแล ดังนั้นรถเข็นคนพิการแบบปรับยืนได้จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติ” ผศ.ดร.บรรยงค์กล่าว
       
       อย่างไรก็ตามรถเข็นคนพิการเเบบปรับยืนได้ที่ผลิตจากต่างประเทศมี 2 แบบคือแบบใช้มอเตอร์ไฟฟ้าปรับจากการนั่งเป็นการยืน และแบบใช้แรงของผู้พิการเอง ซึ่งในแบบที่ใช้แรงคนพิการปรับเองนั้นราคาจำหน่ายอยู่ที่ 150,000 – 300,000 บาท และถ้าเป็นระบบมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีราคาสูงกว่านี้ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงเพราะต้องนำชิ้นส่วนเข้าจากต่างประเทศ
       
       ผศ.ดร.บรรยงค์กล่าวว่าเมื่อราคาของต่างประเทศสูงจึงเป็นที่มาของการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับคนพิการ นั่นก็คือรถเข็นคนพิการที่สามารถปรับยืนได้ โดยไม่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ราคาถูก ง่ายต่อการดูแลรักษา และเหมาะกับการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งใช้ต้นทุนประมาณ 1.5-1.6 หมื่นบาท
       
       ส่วนหลักในการทำงานนั้น ทางทีมผู้ออกแบบได้ออกแบบกลไกและขนาดกระบอกสูบเเก๊ส เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้แรงจากแขนเพียงเล็กน้อยสำหรับการยกตัวเองจากท่านั่งเป็นท่ายืน โดยใช้แนงจากกระบอกสูบแก๊สเป็นตัวเสริมแรง
       
       “กลุ่มเป้าหมายที่ได้ประโยชน์จากผลงานนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ 1.คนพิการที่ประสบปัญหาเดินไม่ได้ (อัมพาตครึ่งท่อนล่าง) แต่ยังมีแรงแขนปกติ 2.คนพิการหรือผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัดในท่ายืน ซึ่งผู้ดูแลสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ ช่วย และยังสามารถเข็น เพื่อเปลี่ยนสถานที่ในการทำกายภาพได้
       
       ส่วนประโยชน์จากการที่ผู้พิการหรือผู้ป่วยจะได้จากการยืนนั้นเเยกออกเป็น 3 ข้อ คือ
       
       1. ด้านสุขภาพกาย การใช้รถเข็นเพื่อช่วยยืนในการทำกายภาพบำบัดนั้น เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน ก็เป็นการช่วยลดปัญหาทางสุขภาพของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบรรเทาแรงกดทับที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อ การทำให้ไตและระบบกระเพาะปัสสาวะทำงานได้ปกติ การเพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิต ฯลฯ
       2. ด้านสุขภาพใจและสังคม ทำให้ผู้พิการสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยืนได้ใกล้เคียงกับคนปกติ เช่นการยืนเพื่อพูดคุยกับคนอื่น ฯลฯ ซึ่งผู้พิการจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างมากนักเมื่อเทียบกับคนปกติ
       3. ด้านเศรษฐกิจ เป็นการเพิ่มความสามารถในการประกอบอาชีพ และลดภาระการช่วยเหลือจากสังคม
ที่มา : http://www2.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9500000149785&TabID=3&
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    April 2025
    October 2024
    September 2024
    February 2024
    January 2024
    March 2023
    February 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

[email protected]