วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๐ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในงานแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาไทย ที่ไปคว้ารางวัลชนะเลิศในระดับนานาชาติ พร้อมแสดงความขอบคุณหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติฯ i-CREATe 2017 ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
0 Comments
กระทรวงวิทย์ร่วมแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ในงาน i-CREATe 2017ผู้สูงอายุที่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความสุขในการดำรงชีวิตประการหนึ่ง เพราะสามารถไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง แต่ปัญหาของผู้สูงอายุที่เรามักจะพบกันทั่วไปคือ หลายคนไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง เมื่อเดินเองไม่ได้ จึงต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยการรอให้ผู้อื่นนำพาตนไปยังที่ต่างๆ ที่ต้องการจะไป แต่ที่เป็นปัญหาใหญ่กว่านั้นคือ เมื่อผู้สูงอายุเดินเองไม่ได้ หลายคนก็กลายเป็นผู้ที่เกิดอาการหงุดหงิด จิตตก กังวล และฟุ้งซ่าน เนื่องจากไม่ได้ออกไปสัมผัสกับโลกภายนอกตามที่ตนเองต้องการจะได้พบได้เห็น
คณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมถึงผู้ที่คิดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อดูแลกลุ่มบุคคลดังกล่าว จึงได้เชิญหน่วยงานที่มีงานด้านนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ และคนพิการเข้าร่วมประชุม โดยให้ความสนใจกับสิ่งประดิษฐ์ด้านเครื่องช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุ หรือ Space Walker ผลงานของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีม Space Walker ซึ่งมีสมาชิกคือ นายวรัตถ์สิทธิ์เหล่าถาวร, นายรมณ์ พานิชกุล และ นายเมธาสิทธิ์ เกียรติ์ชัยภาผลงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการประกวด ITCi Award 2017 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ คณะนักประดิษฐ์บอกถึงสาเหตุในการผลิตนวัตกรรมนี้ขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี สถิติปี ๒๕๕๘ มีประชากรผู้สูงอายุจำนวนร้อยละ ๑๑ ของประชากรทั้งหมด (ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ คน) ดังนั้น จึงคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี ๒๕๗๔ เนื่องจากมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ ๒๘ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างสมบูรณ์ จึงเกิดแนวคิดค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีสิ่ “สเปซ วอล์กเกอร์” หรือเครื่องช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้พิการทางการเคลื่อนไหว มีจำนวนประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ คนซึ่งต้องการเครื่องมือเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกัน โดยผู้สูงอายุผู้พิการ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่นอกจากจะสูญเสียความสามารถทางร่างกาย จึงมีข้อจำกัดในการเดินทางด้วยตนเอง ในขณะเดียวกัน จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ด้านการฟื้นฟูและกายภาพบำบัดในประเทศไทยมีอยู่จำกัด และมีค่าใช้จ่ายสูงในการทำงานด้านการฟื้นฟู เพราะปัจจัยหลักคือต้นทุนการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศมีราคาสูงมาก จึงส่งผลกระทบให้ผู้ที่ต้องการใช้เครื่องมือดังกล่าว โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยขาดโอกาสฟื้นฟูร่างกาย |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|