The locally produced ‘Arm Booster’ is 10 times cheaper and can be used to rehabilitate stroke patients in remote areas, says professorThammasat University has developed a device to help stroke patients restore strength in their arms at a price that is 10 times lower than the imported ones.
The product, called the “Arm Booster”, was developed by Thammasat’s Centre of Excellence in Creative Engineering Design and Development (CED2). The innovation won a gold medal in technology at the i-CREATe 2022 (International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology) in Hong Kong. CED2 chief Assoc Prof Dr Banyong Rungruangduayboon said the Arm Booster costs about 400,000 baht compared to the imported versions that can cost up to 4 million baht. According to Banyong, the CED2 Arm Booster allows stroke patients to develop muscle strength in both arms, not just the arm that is weakened by the stroke. The machine works on the principle of the patient using the stronger arm to help the weak one regain strength. The machine is installed with a monitor and games to keep the patients entertained so they exercise longer. Both handles have sensors to measure pressure from both hands, and this data is sent to the machine to process and report the results and progress of the exercise on the display screen. Banyong said the Arm Booster will benefit Thailand as it is transforming into a super-aged society. He said on average, Thailand sees some 250,000 stroke patients per year and many of them end up with paralysed arms. Hence, he said, he wanted to see more Arm Booster machines installed in tambon hospitals nationwide, so fewer people are paralysed. https://www.nationthailand.com/health-wellness/40042617
0 Comments
ชวนรู้จัก “Arm Booster” นวัตกรรมไทยดูแลกล้ามเนื้อผู้สูงวัย จากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นำร่องใช้แล้วใน 3 สถานพยาบาล ราคาถูกกว่าต่างประเทศ 10 เท่า"Arm Booster" หรือ อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขนแบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผลงานจากทีมวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การนำของ ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบ และพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมของการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ Super Aged Society ในไทย
https://www.posttoday.com/smart-life/714600 https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-1676456 https://www.thecoverage.info/news/content/7577 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ป่วยติดเตียง” จะเป็นไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญคือองค์ความรู้ในการดูแล และการดูแลอย่างใกล้ชิด
ไม่ว่าจะสังเกตเห็นหรือไม่ก็ตาม ข้อเท็จจริงก็คือร่างกายของมนุษย์จะถูกบีบคั้นจากความทุกข์อยู่เสมอ เมื่อร่างกายต้องทำอะไรเดิมๆ อย่างเดียวเป็นเวลานาน โดยไม่สามารถหลบเลี่ยงหรือไม่สามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถอื่นได้ ร่างกายย่อมได้รับบาดเจ็บ “แผลกดทับ” เป็นหนึ่งในภัยสุขภาพที่คุกคามผู้ป่วยติดเตียงอย่างรุนแรง สาเหตุหลักคือการนอนในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน น้ำหนักตัวก็จะกดทับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย จนอวัยวะนั้นๆ ได้รับบาดเจ็บ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่ถูกน้ำหนักกดทับจะถูกทำลาย เนื้อจะตายและกลายเป็นแผล ซ้ำร้ายกว่านั้นคือบริเวณที่มักจะเกิดแผลกดทับส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น เส้นเท้า ก้นกบ ข้างสะโพก ผู้ป่วยจึงเจ็บปวดทุกข์ทรมาน เพื่อป้องกันปัญหาแผลกดทับ ผู้ป่วยติดเตียงควรได้รับการพลิกตัวอย่างน้อยคือ “ทุกๆ 2 ชั่วโมง” ซึ่งนอกเหนือจากระยะเวลาที่ต้องสม่ำเสมอแล้ว องค์ความรู้เกี่ยวกับการ “พลิกตัวผู้ป่วย” ก็สำคัญมาก ทั้งหมดถือเป็นศาสตร์ที่ต้องทำอย่างถูกต้อง อาทิ การจัดท่าทาง การออกแรง ซึ่งจะสัมพันธ์กับความเปราะบางของร่างกายผู้ป่วย โดยเฉพาะถ้าหากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ “เตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับ” นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นจากอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม จากผู้เข้าร่วม “มหกรรมงานวิจัย 90 ปี นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อประชาชน” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 ก.ย. 2567 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นั่นเพราะเตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถแก้ Pain Point ที่หลายๆ ครัวเรือนกำลังประสบอยู่ เตียงพลิกตัวอัตโนมัติป้องกันแผลกดทับเป็นผลงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมคณะ ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) โดยได้ผนวก 2 ศาสตร์เข้าด้วยกัน ได้แก่ ศาสตร์พยาบาลระดับสูงในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง และศาสตร์ด้านวิศวกรรมในการผลิต “นวัตกรรมต้นแบบ” ขึ้นมารับใช้สังคม https://www.thecoverage.info/news/content/7515 |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|