CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

CONFERENCE

การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31

7/4/2017

0 Comments

 
วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร และ บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ, "การออกแบบโครงช่วยฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้าหนักบางส่วนส้าหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน : Space Walker"  การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31, ​4 – 7 กรกฎาคม 2560 จังหวัดนครนายก
                                                                                  ​บทคัดย่อ
งานวิจัยที่น้าเสนอนี้เป็นงานวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินแบบพยุงน้้าหนักบางส่วนส้าหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, กลุ่มผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยได้เริ่มต้นการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินแบบพยุงน้้าหนักบางส่วน โดยโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการฝึกเดินหลังจากที่ผู้ป่วยผ่านการฝึกเดิน หรือใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินมาแล้ว จนมีระดับความสามารถการเดินที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ซึ่งหมายถึง ผู้ป่วยพอที่จะช่วยเหลือตัวเอง หรือก้าวขาได้ด้วยตัวเองได้ (ค่า FAC ระดับ 3-5) หลังจากขั้นตอนนี้ผู้ป่วยจะต้องฝึกเดินให้บ่อยที่สุด โดยใช้โครงช่วยฝึกเดิน (Walker) ซึ่งจะท้าให้มัดกล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ การหกล้ม ซึ่งเกิดจากอุปกรณ์ไม่มีระบบพยุงน้้าหนัก และเนื่องจากผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ท้าให้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายและรูปแบบการเดิน ท้าให้เสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอายุเดียวกัน ซึ่งการแก้ไขปัญหาการหกล้มได้นั้น ก็คือการฝึกเดิน เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และป้องกันการหกล้ม ซึ่งวิธีนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิชาการแล้วว่า ช่วยป้องกันการหกล้มได้ดีที่สุด
ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมา โดยตัวอุปกรณ์ที่ออกแบบนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ระบบพยุงน้้าหนักบางส่วน แบบไดนามิกส์ (Dynamic Partial Weight Support System) โดยใช้แก๊สสปริงท้าหน้าที่พยุงน้้าหนัก เพื่อช่วยพยุงน้้าหนักบางส่วนของผู้ป่วย โดยปรับระดับแรงพยุงน้้าหนักได้โดยการปรับมุมเอียงทิ่ใช้ติดตั้งแก๊สสปริง 2. ชุดสวมใส่ที่ออกแบบพิเศษส้าหรับยกพยุงตัว เพื่อให้เกิดความสบาย และถูกต้องตามหลักการฝึกเดิน จากผลการทดสอบอุปกรณ์ต้นแบบ พบว่า อุปกรณ์สามารถพยุงน้้าหนักตัวผู้ป่วยได้ตามที่ออกแบบไว้ และสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้การฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    July 2020
    December 2018
    June 2018
    May 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    August 2017
    July 2017
    July 2015
    November 2014

    Categories

    All

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

[email protected]