CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

CONFERENCE

The 34th Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand

7/15/2020

0 Comments

 
Picture
เมธาสิทธ์ิ เกียรติ์ชัยภา และ บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ, "การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์กายภาพแขนผ่านกลไกลสะท้อนแบบสมมาตร Arm Rehabilitation Mirror Therapy Linkage", Prachuap Khiri Khan​, 15 - 17 July 2020
Abstrart
ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตเนื่องด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหากไม่
เสียชีวิตก็จะเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต อาการของผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมร่างกายข้างใดข้างหนึ่งได้ ทำให้กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ต้องอาศัยการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้สมองและกล้ามเนื้อสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ โดยการกายภาพบำบัด จะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือการกายภาพรยางค์ส่วนล่างและส่วนบน ซึ่งปัญหาของการกายภาพบำบัดรยางค์ส่วนบนจะมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการฟื้นฟู เนื่องด้วยเรื่องของการขาดแคลนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้เกิดงานวิจัยนี้ โดยงานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดแขนผ่านกลไกลแบบสะท้อน โดยอุปกรณ์จะมีแนวคิดในการนำแขนข้างที่ปกติมาช่วยแขนข้างที่อ่อนแรงผ่านกลไกลแบบสะท้อนด้วยหลักการสมมาตร ซึ่งคล้ายกับการฝึกผู้ป่วยแบบใช้กระจก (mirror therapy) โดยอุปกรณ์ต้องมีความแข็งแรงและกลไกลที่ช่วยในการขยับให้สอดรับกับการขยับแขนของผู้ใช้งานโดยไม่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรค ซึ่งความรู้และความเข้าใจที่ได้จากการพัฒนาอุปกรณ์นี้ ทำให้เข้าใจถึงการเลือกชิ้นส่วนและวัสดุทางวิศกรรมเครื่องกลที่เหมาะสมในการนำมาใช้สร้างอุปกรณ์การทำงานของกลไกลที่ใช้มีการสอดรับกับรยางค์ส่วนบนมนุษย์ ระบบการพยุงน้ำหนักอุปกรณ์และแขนของผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์ โดยอุปกรณ์นี้จะติดระบบวัดการออกแรงผ่านที่จับของแขนทั้งสองข้าง โดยใช้สเตรนเกจสามแกนเพื่อวัดผลการทดสอบการออกแรงของผู้ใช้งาน ผลการทดสอบอุปกรณ์พบว่าการใช้งานในการกายภาพบำบัดโดยใช้แขนข้างที่ปกติมาช่วยข้างที่อ่อนแรงนั้น มีประสิทธิภาพที่ดีทั้งในด้านการขยับแขน อีกทั้งแขนข้างที่อ่อนแรงขยับได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการกายภาพบำบัดด้วยแขนข้างเดียว ส่งผลให้แขนข้างที่อ่อนแรงของผู้ใช้นั้นสามารถออกแรงและควบคุมได้มากขึ้น เป็นผลให้ประสิทธิภาพการฟื้นฟูจากการกายภาพบำบัดสูงขึ้น
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    July 2020
    December 2018
    June 2018
    May 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    August 2017
    July 2017
    July 2015
    November 2014

    Categories

    All

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

[email protected]