ศูนย์ CED-Square ในฐานะตัวแทนจาก ธรรมศษสตร์ นำผลงานนวัตกรรมเกี่ยวกับคนพิการและผู้สูงอายุมาจัดแสดง ในงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติด้านคนพิการ ปี 2560 "นวัตกรรมเพื่อการเข้าถึงของคนทั้งมวล" ระหว่างวันที่ 26-27 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ผลงานที่นำมาแสดงในงานคือ 1. อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: IWalk 2. รถเข็นปรับยืนได้ 3. Sit2Satnd 4. Space Walker
0 Comments
ในงาน StartUp Thailand League 2017 จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งานนี้รวมรวมเหล่าบรรดา StartUp ทั่วประเทศมาร่วมงาน ในงานมีการจัดประกวดการนำเสนองาน หรือที่เรียกว่า Pitching ศูนย์ CED-Square ของ มธ. ผลงานเข้านำเสนอ 2 ผลงาน คือ 1. ทีม Stand by Me ผลงาน Sit2Stand เป็นนวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ 2. ทีม Space Walker ผลงาน Walker with Partial Weight Body Support. จากผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานกว่า 40 ผลงาน จากหลากหลาย มหาวิทยาลัย ทีม Stand by Me ของ มธ. ได้รับรางวัลที่ 3 ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ทีมสิ่งประดิษฐ์ มธ. ได้รับคัดเลือกเป็น 2 ใน 10 ทีม ตัวแทนประเทศไทย ไปญี่ปุ่น ในการคัดเลือกตัวแทนประเทศไทย เพื่อนำผลงานเกี่ยวกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ไปประกวดในรายการ Global Student Innovation Challenge for Assistive Technology ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe 2017 ที่ โกเบ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย มีทีมส่งเข้าประกวด มากกว่า 35 ทีม จากมหาวิทยาลัย และสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยรอบที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 6 มิย 2017 นำเสนอเป็นภาษาไทย และรอบที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 7 กค 2017 นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED-Square) ได้ส่งเข้าประกวด 3 ผลงาน คือ 1. Smart Trike สำหรับ เด็กพิการทางสมอง 2. Space Walker เป็น walker ที่สามารถปรับ Body Weight Support ได้ 3. Sit2Stand อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ออกแบบมาเพื่อผู้อายุโดยเฉพาะ สุดท้าย ทีมของ ธรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย 2 ทีม จาก 10 ทีม คือ ทีม Space Walker และ Sit2Stand ยังเหลืออีกเวลา เดือนกว่าๆ หลังจากนี้คงต้องปรับปรุงงานให้พร้อมเพื่อการแข่งขันที่ ญี่ปุ่น ครับ ในขณะที่ นศ. ส่วนใหญ่ พักผ่อนช่วงปิดเทอม หรือไม่ก็ฝึกงาน แต่มี นศ. กลุ่มหนึ่ง ต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อสร้างผลงาน เพื่อชื่อเสียงของประเทศ และของมหาวิทยาลัย เพื่อนำผลงานไปเผยแพร่ให้ประเทศผู้นำทางด้านเทคโนโลยีเพื่อคนชรา อย่างญี่ปุ่น ได้รู้ว่า ผลงานของเด็กไทยก็มีดีเหมือนกัน ตัวแทน 10 ทีม มี 7 ทีมเป็นสาขาเทคโนโลยี และ 3 ทีมเป็นการออกแบบ จะเห็นได้ว่า ใน 7 ทีมเทคโนโลยี มีแค่ 3 มหาวิทยาลัยเท่านั้น คือ จุฬา มหิดล และธรรมศาสตร์ อยากจะบอกว่า งานวิจัยทางด้าน Assistive และ Rehab เทคโนโลยี ธรรมศาสตร์สามารถปักหมุดอยู่ในแถวหน้าระดับประเทศได้แล้ว ขอบคุณ นศ. ทุกคนอีกครั้ง สำหรับการเสียสละในการทำงานเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ประเทศและมหาวิทยาลัย แน่นอนว่า เราจะพัฒนาสิ่งที่เราประดิษฐ์ขึ้นให้นำไปสู่การใช้งานจริงให้ได้ เหมือนกับที่เราเคยทำมา เป็น นศ. ของผม ต้องอดทน ครับ Cr. ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|