สภาสังคมสงเคราะห์ฯ จัดงานวันคนพิการ ครั้งที่ 54 ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และเปิดโอกาสให้คนพิการทั่วประเทศ ได้พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ได้แสดงความสามารถ ได้รับรู้วิทยาการใหม่ๆ เกี่ยวกับการป้องกันความพิการ การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้คนพิการมีอาชีพ และรายได้ที่เหมาะสม
0 Comments
ศูนย์ CED-Square ร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมความร่วมมือด้านการวิจัย ด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยี11/15/2023 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ศ.ดร.ทพญ. ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับและร่วมประชุมความร่วมมือด้านการวิจัย ด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ กับผู้บริหาร K-MEDI hub (Daegu-Gyeongbuk Medical Innovation Foundation) รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต และ ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ รศ.นพ.กัมมาล กุมาร ปาวา นำเสนอ TU EECMd ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาด้านการวิจัยร่วมกัน เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมปรีดีพนมยงค์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วงบ่ายพาเยี่ยมชมศูนย์วิจัยทางคลินิก (CRC) คณะแพทยศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล และเยี่ยมชมศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย รศ.ดร.ไพรัช อุศุภรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าและพัฒนาตัวยา ศ.ดร.พญ.จันทรา เหล่าถาวร ที่ปรึกษาและ สพ.ญ.ธัญญธร ยิ้มสู้ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลอง คุณ Noriyuki Matsunaga ผู้บริหารและทีมงานของบริษัท Matsunaga ซึ่งเป็นบริษัทรถเข็นสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุมาเยี่ยมศูนย์ CED-Square เพื่อมองหาช่องทางในการสร้างความร่วมมืองานวิจัยในอนาคตต่อไป โดยมี ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ และ ผศ.ดร. สายรัก สอาดไพร ให้การต้อนรับและร่วมหารือ การประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี 2566 รอบชิงชนะเลิศ (Sport Science Innovation Contest 2023) วันที่ 8 กันยายน 2566 ณ อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพฯ ทีม อุปกรณ์อัจฉริยะติดตามสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้ใช้งานวีลแชร์ ซึ่งเป็นการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมจาก คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และ คณะวิศวกรรมศษสตร์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กิจกรรมเสริมวิชาโครงงานทางไฟฟ้า #1 ได้เชิญ ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ หัวหน้า Center of Excellence in Creative Engineering Design and Development มาบรรยาย Design Thinking เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการและแนวคิดในการคิดโจทย์
ผศ.ดร. ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์ พานักศึกษาในวิชา Internet of Things มาเยี่ยมแลป CED-Square เพื่อรับฟัง การอธิบายนวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกาย จากนี้จะเป็นคิวของนักศึกษาในการคิดโจทย์มาทำต่อไป 10 ส.ค.2566 – สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมพื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 16 (i-CREATe 2023) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-11 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยในงานมี งานประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ สำหรับนักเรียนนักศึกษา “Global Student Innovation Challenge” เพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ ซึ่งในปีนี้ ศูนย์ CED-Square ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยจำนวน 2 ทีม คือ 1. Smart grasp Training Pegboard for Stroke Patients 2. Gait Training Machine with Partial Body Weight Support for Children with Cerebral Palsy โดย ทีม Gait Training Machine ได้รับรางวัล Best Ergonomic Design สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัด งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 หัวข้อ “วิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวทีระดับชาติที่นำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม โดยในงานมี การประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2566 ซึ่งศูนย์ CED-Square ได้ส่งผลงานเข้าประกวด 4 ผลงานคือ 1. อุปกรณ์อัจฉริยะติดตามสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้ใช้งานวีลแชร์ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับถ้วยรางวัล เหรียญรางวัลระดับดีเด่น รางวัล ข้อเสนองานวิจัยระดับดีมาก ได้รับโล่เกียรติยศ 2. Smart grasp Training Pegboard for Stroke Patients ได้รับรางวัล เหรียญเงิน 3. Gait Training Machine with Partial Body Weight Support for Children with Cerebral Palsy ได้รับรางวัล เหรียญทอง 4. Isokinetic Elliptical Recumbent Machine for Elderly ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ (พี่หมอแก้ว) รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นำคณะนักเรียนจาก #โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติงานวิจัย พร้อมฟังการบรรยายและการสาธิตนวัตกรรมทางวิศวกรรมทางการแพทย์ ณ ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ในงานวิศวกรรม (Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE)) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของนักวิจัยทางด้านไมโครเวฟในงานอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรมทางการแพทย์ของประเทศ พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ Creative Engineering Design and Development Laboratory (CED2) ซึ่งมีพันธกิจหลักในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทย และเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาด้วยการเป็นช่องทางให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่เรียนในหลักสูตรมาปฏิบัติจริง โดยศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการใช้ประโยชน์จากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในงานวิศวกรรมและห้องปฏิบัติการ Creative Engineering Design and Development Laboratory (CED2) จัดตั้ง ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมฟังบรรยายและการสาธิตงานวิจัยของศูนย์แห่งความเป็นเลิศฯ ทั้งสอง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และจากงานวิจัยจริงในศูนย์แห่งความเป็นเลิศฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช หัวหน้าศูนย์ฯ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอก ของศูนย์ฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ วงษ์ประดับไชย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมการต้อนรับ ศูนย์ CED-Square นำผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมการค้ดเลือกตัวแทนประเทศไทย สำหรับการประกวด gSIC 20235/31/2023 ประกาศผลผู้แทนประเทศไทย จำนวน 11 ทีม เข้าร่วมการประกวด gSIC 2023 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ได้จัดกิจกรรม “การคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุภายในประเทศ ประจำปี 2566” เพื่อคัดเลือกทีมนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่มีผลงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการหรือผู้สูงอายุที่โดดเด่น เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ (The Global Student Innovation Challenge: gSIC 2023) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 16 (The 16th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: i-CREATe 2023) ระหว่างวันที่ 8-11 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเวทีสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสเข้าร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมระดับนานาชาติ อีกทั้งได้เข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านนี้ในประเทศไทยต่อไป ภายในงานได้รับเกียรติจากนางสาววันทนีย์ พันธชาติ ผู้เชี่ยวชาญ A-MED/สวทช. ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน Prof. Wei Tech Ang จาก Rehabilitation Research Institute of Singapore ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก สวทช. และหน่วยงานภายนอกร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด การประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Technology Category) และผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Design Category) มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 41 ผลงาน จากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง โรงเรียน 11 แห่ง และสถาบันอาชีวศึกษา 2 แห่ง โดยมีทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 11 ทีม เพื่อเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวด Global Student Innovation Challenge (gSIC 2023) โดย ผลงานของศูนย์ได้รับคัดเลือก 2 ผลงาน คือ D05: Gait Training Machine for Children with Cerebral Palsy, Thammasat University D13: Smart grasp training pegboard for stroke patient, Thammasat University |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|