งานวันนักประดิษฐ์ปีนี้ รถเข็นปรับยืนได้ของธรรมศาสตร์ ผลงานจากศูนย์ CED-Square ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้น (ระดับประกาศนียบัตร เป็น 1 ใน 5 ผลงานจาก 40 กว่าผลงานที่ส่งเข้าขอรับรางวัล) จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ถือเป็นรายการที่สำคัญที่สุดของประเทศ ด้านการประดิษฐ์คิดค้น เป็นรางวัลปิดท้ายที่มีเกียรติและมีคุณค่าสำหรับรถเข็นปรับยืน รถเข็นปรับยืน ถือว่าเป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นแรกของศูนย์ ผ่านการพัฒนามาหลายปี และเป็นผลงานที่พัฒนาโดย นศ. ระดับปริญาตรีผ่านวิชาโครงงาน ติดต่อกันมาถึง 3 รุุ่น ก่อนที่จะให้คนพิการนำไปทดสอบการใช้งาน และปรับปรุงเรื่อยมา ได้รับรางวัลมามากมายทั้งระดับประเทศและนานาชาติ ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆมากมายทั้ง โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพิ์ สร้างชื่อเสียงให้แก่ ธรรมศาสตร์ ทำให้คนภายนอกรู้ว่า ธรรมศาสตร์ก็มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย
ล่าสุด รถเข็นปรับยืน ถือเป็นผลงานแรกของธรรมศาสตร์ ที่ นศ.ที่จบการศึกษาจากศูนย์ นำไปขยายผลเป็นเชิงพานิชน์ ในรูปแบบ Start-Up ภายใต้สโลแกน รถเข็นปรับยืนธรรมศาสตร์ ในราคาที่เข้าถึงได้ เพราะวัตถุประสงค์แรกของการสร้างรถเข็นปรับยืนคือ การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์และบริการทางสุขภาพแก่คนไทย อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะบอกว่า สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด มันเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ จากการลงทุน แรงกาย แรงใจ ของ นศ. และอาจารย์ ความสำเร็จจริงๆของรถเข็นปรับยืน มันเกิดไปก่อนหน้านี้แล้ว คือ การสร้างคนให้มีความรู้ในการสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของการออกแบบ (Innovation Development based Design) สร้างคนให้มีจิตใจของการเป็นผู้ให้ เป็นวิศวกรที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยและอาจารย์อย่างผม สุดท้าย ผมขอขอบคุณ นศ. ทุกคนที่มีส่วนร่วมกับโครงการนี้ ขอบคุณมหาวิทยาลัยที่เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจในการทำงาน ขอบคุณ เจ้าหน้าที่ ช่าง จากโรงงานไทยวีล ที่ช่วยในการพัฒนาต้นแบบ
0 Comments
Leave a Reply. |
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|