วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร, บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ, "การออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดิน ที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน รุ่นที่ 2.0" วิศวกรรมสาร มก. ฉบับที่ 105 ปีที่ 31 กรกฎาคม - กันยายน 2561, หน้าที่ 1-10
บทคัดย่อ งานวิจัยที่นำเสนอนี้เป็นงานวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินแบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดินรุ่นที่ 2 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กลุ่มผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยได้เริ่มต้นการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบช่วยฝึกเดินแบบพยุงน้ำหนักบางส่วนมาแล้ว 1 รุ่น โดยโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการฝึกเดินหลังจากที่ผู้ป่วยผ่านการฝึกเดิน หรือใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินมาแล้ว จนมีระดับความสามารถการเดินที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ซึ่งหมายถึง ผู้ป่วยพอจะช่วยเหลือตัวเอง หรือก้าวขาได้ด้วยตัวเองได้ (ค่าระดับความสามารถของการเดิน ระดับ 2-4) หลังจากขั้นตอนนี้ผู้ป่วยจะต้องฝึกเดินให้บ่อยที่สุด โดยใช้โครงช่วยฝึกเดิน ซึ่งจะทำให้มัดกล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การหกล้ม ซึ่งเกิดจากอุปกรณ์ไม่มีระบบพยุงน้ำหนัก และเนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและมีความพิการหลงเหลืออยู่ ทำให้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายและรูปแบบการเดิน ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอายุเดียวกัน ซึ่งการแก้ไขปัญหาการหกล้มได้นั้น ก็คือการฝึกเดินเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และป้องกันการหกล้ม ซึ่งวิธีนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิชาการแล้วว่าช่วยป้องกันการหกล้มได้ดีที่สุด งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินรุ่นที่ 2 เพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมา โดยตัวอุปกรณ์ที่ออกแบบมีส่วนที่สำคัญ คือ ระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน แบบไดนามิกส์ โดยใช้แก๊สสปริงทำหน้าที่พยุงน้ำหนักเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักบางส่วนของผู้ป่วย โดยปรับระดับแรงพยุงน้ำหนักได้โดยการปรับมุมเอียงทิ่ใช้ติดตั้งแก๊สสปริง จากผลการทดสอบอุปกรณ์ต้นแบบ พบว่า อุปกรณ์สามารถพยุงน้ำหนักตัวผู้ป่วยได้ตามที่ออกแบบไว้ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกเดิน ช่วยเหลือผู้ป่วยให้การฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
0 Comments
Leave a Reply. |
Archives
May 2023
Categories |
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|