CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

ส่อง 3 หนุ่มสาว "วิศวกรเลือดใหม่" โปรไฟล์ดี รั่วแม่โดม

9/24/2018

0 Comments

 
Picture
Picture

โดย: ผู้จัดการออนไลน์
อีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าสู่การคัดเลือก TCAS62 บางคนอาจวางแผนและมีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่หลายคนอาจยังลังเล คิดไม่ตกกับการเลือกเส้นทางอนาคตในรั้วมหาวิทยาลัย วันนี้เราจะพาไปส่อง 3 หนุ่มสาวหน้าใส ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ซึ่งพร้อมจะปลุกไฟให้กับน้องๆ ที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจผ่านเรื่องราวของพวกเขา เพื่อให้น้องๆได้มองเห็นภาพของตัวเองในอนาคตที่ชัดเจนขึ้น

Picture

​เริ่มที่คนแรก “น้องบูม” นายสุกฤษฎิ์ ประสานเกลียว ศิษย์เก่าจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (TEPE) สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดใจว่า ในอดีตเขาเป็นเพียงนักเรียนธรรมดาที่สอบได้ในระดับกลางๆ แต่เมื่อเห็นเพื่อนๆ ได้ไปเรียนต่อ ม.ปลายในโรงเรียนดีๆ ก็ทำให้เขารู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกลับไปตั้งใจเรียน โดยปรับพฤติกรรมหลังเลิกเรียน จากการเล่นเกมเป็นการอ่านหนังสือเป็นกิจวัตร และให้กำลังใจตนเองเสมอว่า ไม่มีความตั้งใจใดที่สายเกินไป และจากจุดนั้นเอง ความตั้งใจและความมุ่งมั่น ก็ได้พลิกชีวิต เพราะนอกจากจะได้รับทุนการศึกษาจาก TEP-TEPE ตลอดการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ยังสามารถทำคะแนนได้ในระดับดีมาก เรียกว่าเป็น “ตัวท็อป” ของทุกคลาส ทุกวิชา จนคว้าเกียรตินิยมอันดับ 1 ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.99 และรับการเสนอชื่อให้ได้รับทุนการศึกษาจาก มูลนิธิอานันทมหิดล ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย KU Leuven สาขา Electromechanical Engineering Technology ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการวิจัยของยุโรป

Picture

หนุ่มคนต่อมา “น้องนัท” นายวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งปริญญาตรีและโท เผยเคล็ดลับความสำเร็จของเศรษฐียุค 4.0 ว่า ปัจจุบันการสร้างนวัตกรรมให้ถูกใจผู้บริโภคยุคใหม่ ต้องเข้าใจ “ไลฟ์สไตล์” ให้มากที่สุด ซึ่งนวัตกรรมด้านสุขภาพ ยังเป็นเทรนด์ที่มาแรง จึงสร้างโปรเจคการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้พื้นที่ของ CED-Square Center ซึ่งเป็นห้องแล็บที่เปิดโอกาสให้นักศึกษานำความรู้จากห้องเรียน มาออกแบบพัฒนานวัตกรรม ซึ่งผลงานชิ้นแรกคือ “เตียงตะแคงตัวระบบไฟฟ้า” ได้รับรางวัล Peer’s Choice Awards จากเวที i-CREATe 2015 ประเทศสิงคโปร์

​“เฒ่าแก่เงินล้าน” อาจไม่ใช่คำที่ใช้เรียกผู้ประกอบการรุ่นเก๋าอีกต่อไป เพราะนี่คือ ไทยแลนด์ 4.0 ที่อายุไม่ได้เป็นสิ่งวัดความสำเร็จจากการทำธุรกิจอีกต่อไป ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นการนำศาสตร์ด้านวิศวกรรม ไปประยุกต์กับองค์ความรู้ในแขนงอื่นๆ และต่อยอดสู่ “โมเดลนวัตกรรมทางเลือกใหม่” คลอดเป็นธุรกิจพันธุ์ใหม่ ที่สามารถทำรายได้มหาศาล “มากกว่าการเป็นวิศวกร”


จากต้นแบบในห้องแล็บ สู่ “นวัตกรรมทำเงิน” น้องนัทยังคงตั้งเป้ากับการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ และได้รวมกลุ่มกับเพื่อนอีก 3 คน ออกแบบและพัฒนาจนได้ “อุปกรณ์ช่วยเดินแบบมีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน” หรือ Space Walker ที่รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ “ITCi Award” และรางวัลเหรียญทอง ประเภทสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จากเวที i-CREATe 2017 ประเทศญี่ปุ่น และนี่คือจุดเริ่มต้นของ “นวัตกรรุ่นใหม่” ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการนำผลงาน Space Walker ไปออกบูธตามงานต่างๆ ทำให้มียอดสั่งซื้อแล้วมากกว่า 20 ชิ้น จึงริเริ่มตั้งบริษัท Medicubed กลายเป็นธุรกิจเงินล้านได้ในที่สุด โดยแบ่งกำไรที่ได้จากการจำหน่าย 30% กลับเข้า CED-Square Center เพื่อใช้เป็นทุนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมในอนาคต

Picture

สาวคนสุดท้าย “น้องฟิน” นางสาวชนัญญา เลิศประเสริฐกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ไปเรียนรู้ชีวิตในแดนไกล เป็นเพียงความฝัน แต่เมื่อทางคณะฯ เปิดรับสมัครนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่สนใจฝึกงานในต่างประเทศ ความฝันที่เคยวาดไว้ตลอด กระตุ้นให้เกิดความอยาก ทำลายกำแพง “Safe Zone” และคิดว่าคงน่าเสียดายถ้าไม่รีบคว้าโอกาสนี้ไว้ โดยเลือกไป Waterford Institute of Technology (WIT) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่โด่งดังด้านเทคโนโลยีและเก่าแก่ที่สุดในประเทศไอร์แลนด์

โดยวันแรกที่ไปถึง ต้องทึ่งกับการเปิดโอกาสของสถาบันนี้ ที่ให้ได้ร่วมกำหนดโจทย์วิจัยเรื่องการพัฒนาขึ้นรูปแบบพลาสติก หรือ โพลิเมอร์ ร่วมกับเด็กฝึกงานในรุ่นเดียวกันอีก 4 คน ซึ่งเป็นการลงมือทำจริง ไม่ใช่การสังเกตการณ์เหมือนเด็กฝึกงานทั่วไปเท่านั้น หลังจากนั้นก็ให้จับคู่กับเพื่อนอีกคน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของ Hydrogels ซึ่งพบว่าที่ไอร์แลนด์มีดินชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติคล้ายไฮโดรเจน โดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการดูดซึมของดินชนิดนี้ ว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าไฮโดรเจลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไร ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 8 สัปดาห์กับการเป็นเด็กฝึกงานที่ไอร์แลนด์ ได้เรียนรู้ประสบการณ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการด้านวิศวกรรมเคมีรูปแบบใหม่ๆ การใช้ชีวิตร่วมกับผู้คน สร้างมิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน และยังได้เปิดประสบการณ์กับสถานที่แปลกใหม่ เหมือนได้ไปท่องเที่ยวในตัว

​สิ่งเหล่านี้คือ สีสันที่เกิดขึ้นจริงในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เต็มไปด้วยความฝัน แรงบันดาลใจ และความมีชีวิตชีวาของกลุ่มคนเลือดใหม่ ที่เราเชื่อว่าจะสามารถฝากความหวังและอนาคตไว้กับคนกลุ่มนี้ เช่นเดียวกับน้องๆ รุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในเส้นทางที่ตนเองเลือก ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เตรียมหลักสูตรต่างๆ ตามความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่เป็น “มากกว่าวิศวกร” และพร้อมจะปลุกไฟให้น้องๆ มาร่วมกันขับเคลื่อนอนาคตไปด้วยกัน โดยวางเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตศักยภาพสูง ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศอย่างรอบด้าน ให้สมกับการเป็นคนรุ่นใหม่ เรียนไปแล้วไม่ตกเทรนด์

0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    March 2021
    February 2021
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th