ผลงาน sit to stand จากศูนย์ CEDsquare มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่ทางโทรทัศน์ช่องไทย พีบีเอส ในรายการ "นารีกระจ่าง"นาทีที่ 1.30 - 14.40
0 Comments
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดตัว “ซิท ทู แสตนด์” นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกาย ลุก-นั่ง ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ออกกำลังกายได้ด้วยตนเอง เพียงปรับระดับเก้าอี้ และแรงเสริมให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน จากนั้นจึงทำการฝึกลุก-นั่งอย่างสม่ำเสมอประมาณ 10 - 15 ครั้งต่อวัน โดยนวัตกรรมดังกล่าวประกอบด้วยการทำงานร่วมกันของ 3 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบพยุงน้ำหนัก ด้วยการเสริมแรงบริเวณเบาะนั่งเพื่อลดการออกแรงของผู้สูงอายุ ประกอบกับการดันลำตัวผู้สูงอายุให้สามารถลุกยืนได้ง่ายขึ้น 2. ระบบป้องกันเข่าทรุด ผ่านการติดตั้งสปริงเพื่อลดแรงกระแทกบริเวณข้อและเข่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถลุก-นั่งได้อย่างปลอดภัย และ 3. ระบบวิเคราะห์สมดุลการทรงตัว ใช้ระบบการประเมินผลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเพื่อให้สามารถลุก-นั่งได้ถูกต้องตามหลักชีวกลศาสตร์ ทั้งนี้ นวัตกรรม “ซิท-ทู-สแตนด์” อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาตัวเครื่องให้มีรูปแบบที่สวยงาม และพร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปลายปี 2560 ทั้งเริ่มนำเสนอภาครัฐ เพื่อขยายโอกาสให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศมีโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมที่จะฟื้นฟู รักษา และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ดีขึ้น ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. กล่าวว่า หนึ่งในประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่จะมาพร้อมปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ทำให้มีการคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของเครื่องออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น จะเป็นหลักการใช้ “แรงต้าน” เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่ในทางกลับกัน เครื่องออกกำลังกายของผู้สูงอายุจะต้องใช้ “แรงเสริม” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถเคลื่อนไหวได้ วิศวะ มธ.คิดเครื่องออกกำลังกาย "ผู้สูงวัย" ใช้งาน 3 ระบบ ปลอดภัย เล็งจำหน่ายปลายปี : MGRonline9/22/2017 คณะวิศวะ มธ.เปิดตัวเครื่องออกกำลังกายผู้สูงอายุ “ซิท ทู แสตนด์” นวัตกรรม 3 ระบบ ทั้งพยุงน้ำหนัก ฝึกลุกยืนง่ายขึ้น ระบบป้องกันเข่าทรุด ช่วยลุกนั่งปลอดภัย และระบบวิเคราะห์สมดุลการทรงตัว ใช้พร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ปลายปีนี้ เสนอภาครัฐขยายโอกาสผู้สูงอายุทั่วประเทศเข้าถึงผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า หนึ่งในประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่จะมาพร้อมปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ทำให้มีการคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของเครื่องออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น จะเป็นหลักการใช้ “แรงต้าน” เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่ในทางกลับกัน เครื่องออกกำลังกายของผู้สูงอายุจะต้องใช้ “แรงเสริม” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถเคลื่อนไหวได้ และในปัจจุบันเครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีอยู่ในท้องตลาด และในศูนย์สุขภาพต่างๆ มีการใช้งานที่ลำบากและสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หากใช้งานไม่ถูกวิธี ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าวว่า ทีมนักศึกษา 6 คน จาก 2 คณะได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ มธ. จึงได้รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญแบบบูรณาการ และพัฒนาขึ้นเป็น นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกาย ลุก-นั่ง สำหรับผู้สูงอายุ “ซิท-ทู-สแตนด์” ที่มีจุดเด่น คือ ผู้สูงอายุสามารถใช้ออกกำลังกายได้เอง และสามารถทำได้ทุกวัน นวัตกรรมดังกล่าวจึงกลายเป็น ตัวช่วยนักกายภาพบำบัด ที่มีประสิทธิภาพ จุลสารธรรมศาสตร์ TUNEWS : ปีที่ 50 ฉบับที่ 7 เดือนกันยายน 2560ขอขอบคุณ จุลสารธรรมศาสตร์ TUNEWS : ปีที่ 50 ฉบับที่ 7 เดือนกันยายน 2560 หน้าที่ 4-5 โดย มติชนออนไลน์
'สเปซ วอล์คเกอร์' (Space Walker) นวัตกรรมทางการแพทย์จากนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “สเปซ วอล์คเกอร์” (Space Walker) อุปกรณ์กายภาพบำบัดผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง นวัตกรรมทางการแพทย์จากนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้าชนะเลิศการออกแบบ “นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงอายุ” ตั้งเป้า ต.ค.2561 ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการผ่านช่องทางออนไลน์และตัวแทนจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ “อุปกรณ์กายภาพบำบัดในประเทศไทยยังขาดแคลน ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าในราคาแพง หากสามารถพัฒนาและผลิตในประเทศได้จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่ายขึ้นในราคาไม่แพง ทั้งสร้างรายได้เข้าประเทศในอนาคต ยกตัวอย่าง ผลงานสเปซวอร์คเกอร์ของเมืองนอกราคาหลักแสน แต่เมื่อนำมาดัดแปลงให้เหมาะกับคนไทย ราคาลดลงเหลือไม่กี่หมื่นเท่านั้น” วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร ผู้ร่วมพัฒนาสเปซ วอล์คเกอร์ กล่าว ฟื้นฟูกล้ามเนื้ออ่อนแรง วอล์คเกอร์ช่วยเดินเป็นหนึ่งในอุปกรณ์พื้นฐานกายภาพบำบัดเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ปัญหาที่พบคือ อุปกรณ์ไม่มีระบบพยุงน้ำหนัก จึงเกิดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยซึ่งกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะหกล้มขณะทำการฝึกเดิน ในต่างประเทศมีอุปกรณ์เป็นเครื่องไดนามิกส์ช่วยพยุงน้ำหนักผู้ป่วยขณะเดินตามราง จึงตัดปัญหาการหกล้มได้เบ็ดเสร็จวรัตถ์ และกลุ่มเพื่อน เกิดแนวคิดในการพัฒนาเครื่องกายภาพบำบัดที่มีระบบยกน้ำหนักและสามารถนำไปฝึกที่บ้านได้ เนื่องจากการทำกายภาพที่ดีควรฝึกทุกวัน โอกาสจะหายเร็วขึ้นแทนที่จะรอใช้บริการของโรงพยาบาล สัปดาห์ละ 3 ครั้งซึ่งไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูกล้ามเนื้อ การออกแบบเครื่องนี้ได้ทำงานร่วมกับภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ เพื่อให้อุปกรณ์กายภาพบำบัดผู้ป่วยสูงวัยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงออกมามีความสมบูรณ์รอบด้าน “เราคิดหาไอเดียที่แตกต่างด้วยการเสิร์ชหาข้อมูลจำนวนมากในการพัฒนาระบบให้ใช้งานง่าย พร้อมกับสร้างเครื่องต้นแบบและทำการทดสอบผู้ป่วยหลากหลายเคส เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบ ผู้ที่มีอาการสมองพิการมาแต่กำเนิดและผู้ที่ไขสันหลังบาดเจ็บ เป็นต้น” วรัตถ์ กล่าว จากการทดสอบเปรียบเทียบกับวอล์คเกอร์ช่วยเดินทั่วไปพบว่า ผู้ป่วยไม่กล้าเดินออกนอกบ้านด้วยวอล์คเกอร์เพราะกลัวล้ม แต่เมื่อได้ลองใช้สเปซวอล์คเกอร์ก็สามารถเดินได้โดยไม่กังวลการล้ม ทำให้กล้าฝึกเดินมากขึ้น กลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้ที่ผ่านการฝึกกายภาพบำบัดมาแล้วแต่ขาไม่มีแรง สามารถใช้สเปซวอล์คเกอร์ช่วยในการออกกำลังกาย แทนที่จะนั่งหรือนอนทั้งวันจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง วรัตถ์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะทำการทดสอบในผู้ป่วยและเก็บข้อมูลอย่างเป็นทางการ เพื่อประกอบการทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐานไอเอสโอ ส่วนต้นทุนเครื่องต้นแบบประมาณ 4 หมื่นบาทต่ำกว่าเครื่องนำเข้า 30 เท่าแต่ประสิทธิภาพการใช้งานเหมือนกัน ส่วนแผนการต่อไปจะพัฒนาเตียงลดแผลกดทับที่สามารถปรับทั้งซ้ายขวาและปรับนอน/ยืนได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงเครื่องมือกายภาพได้ง่ายขึ้น จากที่ของนำเข้าที่ใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดในราคาหลักแสน เมื่อนำมาปรับใช้เป็นระบบแมนนวลราคาจะลดลงเหลือหลักหมื่นเท่านั้น เวทีสร้างคนสตาร์ทอัพ สำหรับโครงการประกวด ITCi Award 2017 โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ Autodesk Thailand เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพในการผลิตนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงวัย รวมทั้งเป็นการผลักดันให้เกิดการสร้างเครือข่ายและกิจกรรมภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) เพื่อให้เป็นโค-เวิร์คกิ้งสเปซ โดยเฉพาะในส่วนของ ITC-innovate ที่รวบรวมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับการผลิตชิ้นงานต้นแบบเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการและผลักดันประเทศไทยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจทั้งในประเทศและตลาดโลก ผลงานชนะเลิศได้รับเงินรางวัลมูลค่า 2 แสนบาทและได้ไปทัศนศึกษาที่ญี่ปุ่น ทางคณะกรรมการพิจารณาเห็นความโดดเด่นของผลงาน และต้นแบบมีความสมบูรณ์พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ก่อนหน้านี้ก็ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเวทีการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ i-CREATe 2017 ประเทศญี่ปุ่น ส่วนรางวัลที่ 2 ผลงาน Sit to Stand เครื่องมือช่วยออกกำลังกายและกายภาพบำบัดสำหรับการฝึกลุกยืน และรางวัลที่ 3 ผลงานนวัตกรรมหุ่นยนต์เคลื่อนที่สำหรับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ หนังสือพิมพ์ : กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับวันอังคารที่ 19 กันยายน 2560 ทีมธรรมศาสตร์คว้ารางวัลเหรียญทองระดับนานาชาติในงาน i-CREATe 2017 จากประเทศญี่ปุ่น ประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Technology Category) กับผลงาน "Space Walker" อุปกรณ์ช่วยเดินแบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน ซึ่งจะช่วยในการฝึกเดิน ลดการหกล้ม และเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินเป็นปกติได้อีกครั้งวันที่ 15 ก.ย 2560 ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ร่วมกับสํานักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและสถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Autodesk Thailand ร่วมแถลงข่าวและประกาศผล โครงการประกวด “ITCi Award 2017” ในหัวข้อ “นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงวัย” ภายใต้โจทย์อุปกรณ์ช่วยภายในบ้านเพื่อให้ผู้สูงอายสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและสะดวกสบาย ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท พร้อมสิทธิพิเศษในการใช้พื้นที่ทำงานและเครื่องมือเครื่องจักรพร้อมใช้ครบครันที่มารวมตัวกันใน “ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต" แห่งใหม่ ย่านกล้วยน้ำไท ที่ก่อตั้งขึ้น โดย 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักงานพัฒนาเครือข่ายและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน และสถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Autodesk Thailand ร่วมแถลงข่าวและประกาศผลโครงการประกวด "ITCi Award 2017" ในหัวข้อ "นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงอายุ" โดยมี นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน ณ ชั้น LG ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพฯสำหรับ งาน "ITCi Award 2017" ที่ทาง 3 กระทรวง ประกาศเฟ้นหาไอเดียเยาวชนไทย กระทั่งได้ 16 ทีมผลงานนำเสนอไอเดียที่เป็นไปได้จริง พร้อมได้ฝึกอบรมใช้เครื่องจักรแบบครบวงจร ที่ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต หรือ ITC ตลอด 1 เดือนเต็ม เหล่าเยาวชนสามารถเปลี่ยนไอเดียสุดเจ๋ง เป็น นวัตกรรมสุดล้ำได้ไม่แพ้กัน โดยทีม Space Walker คว้าแชมป์ไปครอง ซึ่งเป็นผลงานที่โดดเด่นและสามารถใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสมกับไอเดียการออกแบบเพื่อ "นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงอายุ"
ทีม “Space Walker” คว้าแชมป์ ITCi Award 2017 ไอเดียออกแบบ “นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงอายุ” ภายหลังจาก 3 กระทรวง “วิทย์-อุตฯ-ดีอี” ประกาศเฟ้นหาไอเดียเยาวชนไทย กระทั่งได้ 16 ทีมผลงานนำเสนอไอเดียที่เป็นไปได้จริง พร้อมได้สิทธิ์อบรมใช้เครื่องจักรแบบครบวงจร ที่ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต หรือ ITC ตลอด 1 เดือนเต็ม เหล่าเยาวชนสามารถเปลี่ยนไอเดียสุดเจ๋ง เป็น นวัตกรรมสุดล้ำ ได้ไม่แพ้กัน คณะกรรมการตัดสินให้ “ทีม Space Walker” คว้าชัย นวัตกรรมตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัย พร้อมสิทธิ์ดูงานประเทศญี่ปุ่นปลายกันยายนนี้ วันที่ 15 กันยายน 2560 ที่ ชั้นแอลจี ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน และสถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Autodesk Thailand ร่วมแถลงข่าวและประกาศผลโครงการประกวด “ITCi Award 2017” ในหัวข้อ “นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงวัย” ภายใต้โจทย์อุปกรณ์ช่วยภายในบ้านเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและสะดวกสบาย (Independent living) ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท พร้อมสิทธิพิเศษในการใช้พื้นที่ทำงานและเครื่องมือเครื่องจักรพร้อมใช้ครบครันที่มารวมตัวกันใน “ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry Transformation Center, ITC)” แห่งใหม่ ย่านกล้วยน้ำไท ที่ก่อตั้งขึ้นโดย 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|
|
HoursM-F: 7am - 7pm
|
Telephone+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247
|
|