CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

มธ.มอบโล่นักวิจัย ปลื้ม5ผลงานจดสิทธิบัตร : OK NATION

12/26/2008

0 Comments

 


สํานักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ (มธ.) ได้จัดพิธีการมอบโล่เชิดชูเกียรติ ให้กับผู้ที่สร้างชื่อเสียงทางด้านการวิจัย เนื่องใน 

"วันนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยในปีนี้มอบโล่รางวัลไปทั้งสิ้น 75 โล่รางวัล


และมีผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร 5 ผลงาน ประกอบด้วย ​

​1. อุปกรณ์วัดความเร็วและทิศทางของลม
2.สิ่งบ่งชี้อายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สดพร้อมบริโภคที่ตอบสนองต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
​3. รถเข็นคนพิการปรับยืนโดยไม่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
4. เครื่องอบแห้งอเนกประสงค์โดยใช้คลื่นไมโคร เวฟกับระบบสเปาเต็ดเบด
 ​
5. Method for detecting CDT and bacteria of the genus Campylobacter using it as a target 
​



1. อุปกรณ์วัดความเร็วและทิศทางของลม โดยใช้เซอร์โวมอเตอร์กระแสตรง ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร คิดค้นโดย รศ.ดร.ธนัญชัย ลีภักดิ์ปรีดา แห่งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากความสนใจและชอบศึกษาค้นคว้าในเรื่องของมอเตอร์ไฟฟ้า 

อุปกรณ์นี้มักจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเร็วลม เช่น การวัดปริมาณกระแสลมในระบบปรับอากาศ เพื่อดูปริมาณของลมที่ถูกส่งมาจากท่อ หรืออุตสาหกรรมบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับระบบแก๊ส โดยอุปกรณ์นี้จะบ่งบอกทิศทางและปริมาณการรั่วไหลของแก๊ส

จึงเป็นทางเลือกใหม่ในเทคโนโลยีด้านเครื่องมือวัดความเร็วลม

2. สิ่งบ่งชี้อายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สดพร้อมบริโภคที่ตอบสนองต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
 ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร คิดค้นโดย รศ.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ได้แรงบันดาลใจมาจากการซื้อผักและผลไม้ตามห้างสรรพสินค้าแล้วเกิดสงสัยว่า ผักและผลไม้ที่มีรูปลักษณ์สดน่ารับประทานนั้น คุณภาพที่แท้จริงนั้นยังคงสดเหมือนลักษณะภายนอกที่เห็นหรือไม่ 

จึงได้เกิดความคิดที่จะคิดค้นสิ่งที่สามารถบอกอายุของผักและผลไม้สด ที่เชื่อถือได้ขึ้นมา

กลไกการทำงานของสิ่งบ่งชี้อายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สด หรือ Indicator ซึ่งตอบสนองต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น จะถูกติดไว้ที่บรรจุภัณฑ์ของผักหรือผลไม้ เมื่อผักหรือผลไม้อยู่ในภาชนะ ก็จะมีการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือเกิดการหมักหมมจะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น Indicator ที่ติดอยู่ก็จะเปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ ตามปริมาณของก๊าซที่ Indicator วัดได้ 

ถึงแม้ว่าตัวชี้วัดหรือ Indicator ยังไม่ถูกนำไปใช้ในท้องตลาดทั่วไป แต่ก็ถือว่ามีความพยายามที่จะสร้างทางเลือก ให้ผู้ผลิตใช้แสดงความจริงใจต่อผู้บริโภค ว่าสินค้าที่นำมาขายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ เพราะลักษณะภายนอก หรือฉลากที่ติดโดยผู้ผลิตอาจหลอกสายตาของผู้บริโภคได้ 

แต่ไม่สามารถหลอกวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏและเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุและผลได้

3. รถเข็นคนพิการปรับยืนโดยไม่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าคิดค้นโดย ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรม ศาสตร์ มธ. 3 คน ได้แก่ นายธาริน อัตถจริยา นายณัฐพล กัณหาบัว นายศุภลักษณ์ โคบุตรี 
เจ้าของผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรมีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากการได้พบเห็นคนพิการในสังคมและเกิดความคิดว่า คนพิการในสังคมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นล่าง การลงทุนจากเอกชนก็ไม่มีแรงดึงดูดในเชิงธุรกิจ เพราะคนพิการส่วนใหญ่ไม่มีกำลังซื้อ จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ต้องคิดค้นงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 
การทำงานของรถเข็นเป็นการออกแบบกลไกและขนาดกระบอกสูบแก๊ส เพื่อใช้แรงแขนของผู้ใช้งานในการยกตัวจากท่านั่งเป็นท่ายืน โดยมีแรงจากกระบอกสูบแก๊สเป็นตัวเสริมแรง ความสำเร็จของผลงานจึงไม่ได้อยู่ที่การเพิ่มศักยภาพให้ผู้พิการเท่านั้น แต่คือการปลูกจิตสำนึกแห่งการช่วยเหลือให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

4. เครื่องอบแห้งอเนกประสงค์โดยใช้คลื่นไมโคร เวฟกับระบบสเปาเต็ดเบด ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร โดย รศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ที่มีแนวความคิดในการสร้างผลงาน มาจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ควบคุมคุณภาพผลผลิตได้ลำบาก การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้ ต้องใช้ต้นทุนที่สูง และประสบปัญหาในการซ่อมบำรุง นักวิชาการไทย จึงควรที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สังคมได้นำไปใช้ประโยชน์

หลักในการทำงานเบื้องต้นของเครื่องอบแห้งอเนกประสงค์ ก็คือ เครื่องจะถูกแบ่งระบบ ออกเป็น 4 ระบบหลักๆ ดังนี้ ระบบไมโครเวฟ ระบบลมร้อน ระบบน้ำหมุนวนเพื่อระบายความร้อน และระบบอัตโนมัติสำหรับตัดวงจรการทำงานในกรณีมีการรั่วของคลื่น เครื่องสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ได้ประมาณ 30-40 Kg ในหนึ่งรอบการทำงาน ซึ่งจะเน้นไปที่พืชที่เป็นเม็ด หรือรูปร่างเป็นชิ้นย่อยๆ อาทิ ข้าวเปลือก เมล็ดกาแฟ ข้าวโพด ถั่ว เม็ดยา และพืชสมุนไพรที่มีการหั่นบาง เป็นต้น 

ด้านล่างสเปาเต็ดเบด จะทำการป้อนลมร้อนที่อุณหภูมิในช่วงประมาณ 50-700 องศาเซลเซียส ภายในระบบจะมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิภายในเนื้อวัสดุ และวัดอัตราการไหลของน้ำหมุนวน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประมวลสมรรถนะการทำงานของระบบ จะมีระบบอัตโนมัติที่สามารถตัดวงจรการทำงานในกรณีมีการรั่วของคลื่น หรือการเกิดความร้อนเหนือพิกัด นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์วัดความชื้นอย่างง่าย และตารางประกอบการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการอบแห้งวัสดุในแต่ละชนิด 

นวัตกรรมใหม่ที่คิดค้นขึ้นมานี้ สามารถลดระยะเวลาของกระบวนการผลิตได้ประมาณ 10 เท่า และสามารถลดต้นทุนพลังงานได้มากกว่าประมาณ 5 เท่า เมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิม และไม่ทำให้ผลผลิตเกิดการเปลี่ยนสี เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า 

ทำให้ผลงานนี้ได้รับรางวัลมากมายทั้งจากสภาวิจัยแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยี เพราะการจะผลิตสินค้าดีออกสู่ตลาดโลกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นส่วนสนับสนุนให้การเป็นประเทศเกษตรกรรมรายใหญ่ของโลกมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

5. Method for detecting CDT and bacteria of the genus Campylobacter using it as a target ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร โดย ผศ.ดร.วรดา สโมสรสุข ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มธ. โดยมีแรงบันดาลใจในการคิดค้นผลงานมาจากการที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีเชื้อ Campylobacter ซึ่งก็คือ เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอุจจาระร่วง และที่สำคัญเชื้อนี้ดื้อต่อสารต้านจุลชีพกลุ่ม fluoroquinolones ในอัตราที่สูง ซึ่งสารต้านจุลชีพในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยอุจจาระร่วง 

ผศ.ดร.วรดากล่าวว่า การตรวจพบเชื้อ Cam pylobacter hyointestinalis ซึ่งเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง เป็นการรายงานครั้งแรกในประเทศไทยที่ตรวจพบเชื้อนี้โดยใช้วิธีการ CDT เป็นเป้าหมายในการตรวจ และเป็นการรายงานเป็นครั้งแรกของโลกในการค้นพบยีนที่สร้างสารพิษชื่อ Cytolethal distending toxin (CDT) จากเชื้อ Campylobacter hyointestinalis เนื่องจากสารพิษนี้จะยับยั้งการแบ่งเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์เกิดอาการบวมและตายได้

เชื้อในกลุ่ม Campylobacter ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ทั้งในมนุษย์และในสัตว์ เช่น ไก่ สุกร วัว เป็นต้น การติดเชื้อในสัตว์สามารถถ่ายทอดมาสู่มนุษย์ ซึ่งบริโภคสัตว์ดังกล่าวเป็นอาหาร มักพบว่ามีการดื้อยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยอุจจาระร่วงในปัจจุบัน การตรวจไม่พบเชื้อนี้อาจทำให้การรักษาไม่ถูกต้องและใช้เวลานาน

ผศ.ดร.วรดากล่าวด้วยว่า การที่จะเป็นผู้ที่คิดค้นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมนั้น ต้องมีความพากเพียร อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เคารพจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และมีความซื่อสัตย์ ไม่ขโมยผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน เพราะจะไม่ทำให้เกิดผลงานใหม่ขึ้นในสังคม คุณประโยชน์ที่แท้จริงของผลงาน ไม่ควรเป็นของคนเพียงไม่กี่คน แต่ควรเป็นของคนส่วนใหญ่ในสังคม
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    March 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th