CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

“พี่ช้างช่วยเดิน” อุปกรณ์กายภาพบำบัดน่ารัก :  ASTVผู้จัดการออนไลน์

10/27/2015

0 Comments

 
Picture
อุปกรณ์ช่วยเดินสำหรับเด็กพิการทางสมองรุ่น Stepper 2.0 ถูกพัฒนาด้วยการนำหุ่นช้างมาใส่เพื่อดึงดูดความสนใจจากเด็ก เพื่อเป็นสิ่งจูงใจสำหรับการฝึกเดิน

ฝึกเด็กพิการทางสมองเดิน ด้วยเครื่องกายภาพบำบัดพี่ช้าง นวัตกรรมเพื่อสังคมน่ารักๆ จากนักศึกษาวิศวะ ม.ธรรมศาสตร์ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ-ลดภาระนักกายภาพบำบัด-เลี่ยงวัสดุนำเข้า ดีกรีรางวัลชมเชยจากการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์    
​i-CREATe ประเทศสิงคโปร์

       

       หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่า ในเด็กที่มีภาวะพิการทางสมองนั้น นอกจากจะเรียบรู้ได้ช้ากว่าเด็กทั่วไปแล้ว ยังส่งผลให้อวัยวะบางอย่างในร่างกายสูญเสียการควบคุม โดยเฉพาะกรณีขาอ่อนแรงที่มักพบควบคู่กันกับเด็กพิการทางสมองส่วนใหญ่ ทำให้หลายสถาบันรับเลี้ยงหรือโรงเรียนสำหรับผู้พิการ ต้องมีช่วงเวลากายภาพบำบัดควบคู่กับการเสริมสร้างการเรียนรู้
       นายพงษ์สิทธิ์ มิสา นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เด็กพิการทางสมองส่วนใหญ่จะนอนหรือนั่งนิ่งๆ อยู่กับที่ตลอดเวลา เพราะไม่มีแรงขา ทำให้เดินแล้วล้ม การแก้ไขจึงต้องใช้การหัดเดินด้วยเครื่องช่วยเดิน หรือ วอร์กเกอร์ เหมือนผู้สูงอายุแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยใช้นักกายภาพบำบัดช่วยต่อผู้ป่วย 1 รายไม่ต่ำกว่า 3 คน ซึ่งในสถานรับเลี้ยง, โรงเรียน หรือศูนย์กายภาพบำบัดขนาดเล็ก ย่อมมีนักกายภาพบำบัดไม่เพียงพอ
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว รุ่นพี่ของเขาจึงได้พัฒนาเครื่องฝึกเดินสำหรับเด็กพิการทางสมองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า CP Steper 1.0 ที่เหมาะสำหรับใช้ฝึกเดินให้กับเด็กที่มีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง จากความผิดปกติของสมอง อายุ 7-12 ปี โดยใช้มอเตอร์ที่ต่อเข้ากับเฟืองการหมุนของบันไดจักรยานซึ่งถูกต่อเข้ากับสนับหัวเข่า เป็นตัวชักนำการเดินตามหลักการเดิมที่นักกายภาพบำบัดต้องคอยจับขาเด็กให้ก้าวไปทีละก้าว โดยที่ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุหรือการหกล้มเหมือนวิธีการเดิม เพราะตัวของเด็กถูกพยุงไว้เบาะที่ติดตั้งอยู่ทางด้านหลัง
       “ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยเกือบหมดแล้วตั้งแต่รุ่นแรก ติดอยู่อย่างเดียวคือเด็กกลัว เพราะ stepper รุ่นแรก เราบรรจุมอเตอร์ไว้ในกล่องสี่เหลี่ยมสีเงินธรรมดา ซึ่งทำให้เด็กระแวง ร้องไห้งอแง ไม่ยอมเดิน เราจึงต้องเอาความน่ารักเข้ามาดึงดูดความสนใจด้วยการนำช้างพลาสติก หรือช้างโยกเยกที่เราคุ้นเคยกัน มาประกอบเข้าไปอีกที ซึ่งได้ผลดีเกินคาด เพราะเด็กๆ ชอบ ให้ความสนใจและนิ่งขึ้น ส่วนเหตุผลที่ใช้รูปช้างก็เพราะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย จึงเกิดเป็นเป็น CP Stepper 2.0”
       
       นอกจากความน่ารักที่กระตุ้นความสนใจให้เด็กอยากเดินมากขึ้น พงษ์สิทธิ์ยังระบุด้วยว่า นวัตกรรมชิ้นนี้ช่วยผ่อนแรกนักกายภาพบำบัดได้มาก เพราะนอกจากอุปกรณ์จะออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและปลอดภัย ใช้นักกายภาพบำบัดดูแลแค่เพียง 1 คนแล้ว ผู้ประดิษฐ์ยังได้ออกแบบให้ผู้ดูแล 1 คน สามารถควบคุมและสั่งงานได้พร้อมๆ กันผ่านระบบบลูทูธถึง 7 เครื่อง ผ่านการเชื่อมต่อทางสมาร์ทโฟน เพราะเส้นทาง ช่วงมุมองศาการก้าว และความเร็วก้าวที่สั่งมอเตอร์ ผู้ควบคุมหรือนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้สั่งการทั้งหมด โดยข้อมูลทางการแพทย์และกายภาพบำบัดได้มาจากนักศึกษาคณะกายภาพบำบัดจากสถาบันเดียวกัน ทีเชื้อเชิญเข้ามาร่วมทีม
       พงษ์สิทธิ์ได้นำผลงานไปทดสอบและใช้จริงแล้วกับกลุ่มเด็กพิการทางสมองที่บ้านศรีสังวาลย์จำนวน 4 คน ซึ่งนักกายภาพบำบัดให้ความเห็นว่า Stepper 2.0 ทำให้เด็กมีความสุขกับการเดินมากขึ้นจริง สังเกตได้จากช่วงเวลาการเดิน และความถี่ของการก้าว ส่วนผลการรับรองทางการแพทย์ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเพราะอยู่ในช่วงทดสอบและรวมรวมผล แต่สำหรับแนวคิดการต่อยอดเชิงพาณิชย์ พงษ์สิทธิ์ระบุว่ายังเป็นเรื่องของอนาคต และยังมีส่วนที่ต้องพัฒนาอีกหลายจุด โดยเฉพาะส่วนของต้นทุนต่อคัน ที่สูงถึงประมาณ 7,000 บาท
       นวัตกรรมเครื่องฝึกเดินสำหรับเด็กพิการทางสมอง ถูกนำไปจัดแสดงและร่วมประกวดในโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนักศึกษา (Student Innovation Challenge) หรือ i-CREATe 2015 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยได้รับรางวัลชมเชยด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ 
Picture
มอเตอร์ควบคุมการปล่อยก้าวเดิน ถูกบรรจุอยู่ในตัวช้าง มันจะทำงานไปค่อยๆ หมุนเหมือนหลักล้อจักรยาน เพื่อให้เด็กพิการค่อยๆ ก้าวเดินแบบปลอดภัย ไม่ต้องกลัวสะดุดล้ม เเพราะตัวเด็กจะถูกตรึงไว้กับเบาะสีน้ำตาลด้านหลัง เพื่อให้วิถีการเดินมีความถูกต้อง
Picture
นายพงษ์สิทธิ์ มิสา นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกผู้พัฒนา Stepper 2.0 จนได้รับรางวัลชมเชยจากเวที i-CREATe
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th