CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

2 นวัตกรรมฟื้นฟู "มนุษย์ล้อ" คว้ารางวัลงานวิจัยแห่งชาติ

11/13/2016

0 Comments

 
Picture
ผู้พิการส่วนใหญ่นอกจากจะสูญเสียความสามารถทางร่างกายแล้ว ยังมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวโดยไม่สามารถเดินทางไปที่ไกล ๆ ด้วยตนเองได้ ในขณะเดียวกันจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ด้านการฟื้นฟูและกายภาพบำบัดในประเทศไทยก็มีอยู่จำกัด ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายสูง... 

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการทางการเคลื่อนไหว สูงถึง 850,740 คน         

ผู้พิการส่วนใหญ่นอกจากจะสูญเสียความสามารถทางร่างกายแล้ว ยังมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวโดยไม่สามารถเดินทางไปที่ไกล ๆ ด้วยตนเองได้ ในขณะเดียวกันจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ด้านการฟื้นฟูและกายภาพบำบัดในประเทศไทยก็มีอยู่จำกัด ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายสูง อันเนื่องมาจากต้นทุนในการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศที่มีราคาสูงถึง 4-10 ล้านบาท จึงส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยขาดโอกาสในการฟื้นฟูร่างกาย
        
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมทางการแพทย์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และคณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้ประดิษฐ์ “นวัตกรรมชุดถอดประกอบรถเข็นคนพิการแบบใช้ไฟฟ้า” นวัตกรรมที่จะทำให้การเดินทางของ “มนุษย์ล้อ” หรือผู้ป่วยที่ใช้รถวีลแชร์เปลี่ยนไป เพียงแค่ออกแรงบิดคันเร่ง และ “นวัตกรรมเครื่องช่วยฝึกเดินด้วยการช่วยพยุงน้ำหนักบางส่วน” นวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กลับมาเดินได้อีกครั้งและลงน้ำหนักเท้าได้เสมือนคนปกติ เพียง “ฝึกเดิน” บนลู่วิ่งเป็นประจำ วันละ 20-30 นาที และทั้งสองนวัตกรรมเพื่อผู้พิการยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในกลุ่มนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์และการแพทย์เพื่อคนพิการ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ เมื่อปีที่ผ่านมาอีกด้วย... 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า นวัตกรรมชุดถอดประกอบรถเข็นคนพิการแบบใช้ไฟฟ้า จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่ใช้รถวีลแชร์ให้เดินทางได้สะดวกขึ้น เพียงแค่บิดคันเร่งผู้ป่วยก็จะสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะที่ไกลขึ้น โดยที่ไม่รู้สึกเหนื่อยล้า แม้พื้นถนนจะมีลักษณะขรุขระหรือลาดชัน..
นวัตกรรมนี้เป็นชุดถอดประกอบที่มีต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งติดตั้งอยู่ที่ล้อ จุดเด่นคือ ผู้พิการสามารถนำนวัตกรรมมาติดตั้งกับวีลแชร์คันเดิมของผู้ป่วยได้ด้วยตัวเอง เมื่อประกอบแล้วจะมีลักษณะคล้ายรถจักรยานสามล้อ พร้อมกันนี้ยังสามารถถอดประกอบ หรือพับเก็บเข้าไปในรถโดยสารสาธารณะ ตลอดจนลิฟต์ขนาดเล็กได้อย่างสะดวก โดยล่าสุด ทางสโมสรโรตารี่สากล ภาคใต้ ได้สั่งผลิต 40 คัน เพื่อบริจาคยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มีความต้องการ
        
สำหรับนวัตกรรมชุดฝึกเดิน ด้วยการพยุงน้ำหนักบางส่วน ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่สูญเสียการทรงตัว เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จากภาวะโรคหลอดเลือดสมอง ให้สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง เพียงผู้ป่วยขึ้นไปยืนบนเครื่องฝึกเดิน พร้อมกับรัดสายช่วยพยุงน้ำหนัก และจับราวหัดเดินให้กระชับ จากนั้น ระบบจะฝึกให้ผู้ป่วยก้าวเดินอย่างช้า ๆ คล้ายกับการเดินอยู่บนลู่วิ่ง เพื่อเป็นการกระตุ้นข้อต่อต่าง ๆ ทั้งข้อเข่าและข้อเท้าของผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคย ตลอดจนมีท่วงท่าการเดินหรือการลงน้ำหนักเท้าเสมือนคนปกติ โดยผู้ป่วยควรฝึกเดินเป็นประจำ เฉลี่ยวันละ 20-30 นาที เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี นวัตกรรมดังกล่าว มีราคาต้นทุนอยู่ที่ 600,000 บาท ซึ่งมีราคาถูกกว่าท้องตลาดในรุ่นใหญ่ที่มีการควบคุมซับซ้อนถึง 10 เท่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรยงค์ กล่าวว่า จากสถิติข้อมูลคนพิการทางการเคลื่อนไหว ตั้งแต่ปี 2537-2558 ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า จำนวนผู้พิการมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โดยข้อมูลในเดือนธันวาคม 2558 มีจำนวนผู้พิการทางการเคลื่อนไหว รวมทั้งสิ้น 857,655 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 10% เมื่อเทียบจากเดือนธันวาคม 2557 ที่มีจำนวนผู้พิการประมาณ 780,782 คน แต่ในขณะเดียวกันกลับมีเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย ดังนั้น การออกแบบกลไกสำหรับเครื่องช่วยฝึกเดินและเคลื่อนไหวร่างกายเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักประดิษฐ์ เพราะต้องอาศัยศาสตร์ความรู้ด้านวิศวกรรมและด้านการแพทย์รวมเข้าด้วยกัน
        
นวัตกรรมนี้ยังถือเป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่จะช่วยเอื้อประโยชน์ในการบำบัดฟื้นฟู และกระจายสู่ผู้ป่วยที่ขาดโอกาสในการเข้ารับการรักษาได้อย่างทั่วถึง.

​http://www.dailynews.co.th/article/535992
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    March 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th