CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

อวดโฉม ‘สเปซ วอล์กเกอร์’ นวัตกรรมแห่งอนาคต ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ

9/20/2017

0 Comments

 
Picture

โดย มติชนออนไลน์

สําหรับผู้สูงอายุ ข้อเข่าที่เสื่อมลงตามกาลเวลา ทำให้การเคลื่อนไหวเดินยืนแต่ละทีกลายเป็นเรื่องยากลำบาก

แน่นอนว่า ยิ่งไม่ขยับ ไม่ได้ใช้กำลัง กล้ามเนื้อก็ถดถอยลง และเป็นที่มาของคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง

ทำอย่างไรจะสามารถเดินได้มากขึ้นโดยไม่ต้องกังวลว่าขาจะอ่อนแรงฉับพลันแล้วพลัดตกหกล้ม นี่เป็นที่มาของโจทย์การคิดประดิษฐ์ “สเปซ วอล์กเกอร์” (Space Walker) เครื่องช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุ

                        เจ้าของรางวัลที่ 1 จากโครงการประกวด “ITCi Award 2017” หัวข้อ “นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงวัย”ภายใต้โจทย์อุปกรณ์ช่วยภายในบ้านเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและสะดวกสบาย เป็นการผนึกกำลังกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน และสถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Autodesk Thailand



Picture
วัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีส่งเสริมให้กับเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แสดงความรู้ความสามารถอย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งแสดงศักยภาพในการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงวัย ซึ่งกิจกรรมการประกวดครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำเสนอสู่ตลาดและทดสอบความต้องการของตลาดเบื้องต้น ในยุคที่ตลาดผู้สูงอายุเริ่มทวีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ

​ “สเปซ วอล์กเกอร์” ผลงานของ วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร, รมณ์ พานิชกุล และ เมธาสิทธิ์ เกียรติ์ชัยภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะช่วยพยุงน้ำหนักของผู้สูงอายุและช่วยในการเดิน ทั้งนี้ยังป้องกันการล้มโดยป้องกันเข่าและศีรษะของผู้ใช้งานไม่ให้กระแทกพื้น ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย สะดวกในการพกพา ที่มาของเครื่องช่วยเดินนี้ วรัตถ์ นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มธ. เจ้าของผลงาน เล่าให้ฟังว่า มาจากการที่ไปรีวิวอุปกรณ์เกี่ยวกับการฝึกเดิน เห็นว่าในต่างประเทศมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ซีโร่ จี” เป็นอุปกรณ์ไดนามิกซัพพอร์ตที่อยู่เหนือหัว ผู้ป่วยต้องเดินไปตามราง ซึ่งข้อจำกัดคือใช้ได้ในโรงพยาบาล หรือที่กำหนดไว้เท่านั้น ​
Picture
เจ้าของรางวัลที่ 2
“Sit to Stand Trainer with Assessment of Balance Ability : An Apparatus for Rehabilitation and Exercise for Elderly at Home” เป็นเครื่องออกกำลังกายและกายภาพบำบัดสำหรับการฝึกลุกยืน โดยเครื่องมือจะช่วยประคองตัวในขณะลุกขึ้นยืนจากท่านั่ง ทั้งยังสามารถประเมินสมรรถภาพการทรงตัวของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยได้
มีระบบการใช้งานถึง 3 โหมด ได้แก่ Exercise Mode ช่วยฝึกรยางค์ส่วนล่างของผู้ป่วยให้แข็งแรง, Games Mode ออกแบบเพื่อช่วยฝึกสมองของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสนุก ไม่น่าเบื่อในการฝึกออกกำลังกายและกายภาพบำบัด และโปรแกรมเพื่อช่วยคัดกรองสมรรถภาพการทรงตัวของผู้สูงอายุ

สายรัก หัวหน้าทีมบอกว่า เครื่องมือนี้ออกแบบตามหลักวิศวกรรมการแพทย์ ถูกต้องตามหลักรยางค์ศาสตร์และชีวกลศาสตร์ โดยผู้ใช้งานสามารถปรับแรงช่วยได้หลายระดับ ตั้งแต่ 25-70% ของน้ำหนักตัว เก้าอี้เปลี่ยนได้ตามสรีระของผู้ใช้เหมาะกับผู้สูงอายุที่สูงตั้งแต่ 145-190 ซม.


ผลงานที่เป็นการทำงานร่วมกันของทีมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ มธ. เพราะเราต้องการออกแบบให้ถูกต้องโดยการบูรณาการความรู้ทั้งด้านวิศวะคอมพิวเตอร์ วิศวะเครื่องกล และวิศวกรรมการแพทย์ เพราะ “อยากให้เครื่องมือเราเป็นประโยชน์ต่อชุมชนจริงๆ ไม่ได้จบแค่การประกวด หรือแค่เรียนจบ แต่อยากให้ใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์กับทุกคน”
ซึ่งก่อนจะทำเราได้ค้นหางานวิจัยว่าอะไรเป็นปัญหาที่แท้จริง และพบว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุ โดยมีงานวิจัยระบุว่าผู้ที่อายุ 60 ปีเป็นต้นไป กล้ามเนื้อจะลดลง 1-3% ทุกปี เพราะไม่มีอะไรเป็นยาที่วิเศษไปกว่าการออกกำลังกาย จึงคิดว่าเราทำเครื่องมือออกกำลังที่ดีที่สุด ง่ายที่สุด ออกกำลังที่บ้านได้ จบเลย
สายรักบอก และยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เครื่องมือนี้ผ่านการทดสอบเบื้องต้น ตั้งแต่เช็กแรงกระแทก โดยสามารถรองรับน้ำหนักดีกว่า และช่วยป้องกันการกระแทกของข้อเข่าได้ดี ต่อมาเป็นการทดสอบองศาของมุมสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ให้ออกมาเป็นธรรมชาติถูกต้องตามหลักชีวกลศาสตร์ทางกาย และยังทดสอบทางด้านการทำงานของกล้ามเนื้อ ผู้ที่อ่อนแรงก็ใช้งานได้ ปัจจุบันเรากำลังเก็บข้อมูลที่ศูนย์ผู้สูงอายุ เพื่อดูว่าหลังจากการใช้งานแล้วดีขึ้นอย่างไรบ้าง

0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th