CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

มธ.โชว์ “ซิท-ทู-สแตนด์”เก้าอี้อัจฉริยะปกป้อง-เสริมฟิตผู้สูงวัย : ฐานเศรษฐกิจ

9/22/2017

0 Comments

 
Picture
Picture

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดตัว “ซิท ทู แสตนด์” นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกาย ลุก-นั่ง ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ออกกำลังกายได้ด้วยตนเอง เพียงปรับระดับเก้าอี้ และแรงเสริมให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน จากนั้นจึงทำการฝึกลุก-นั่งอย่างสม่ำเสมอประมาณ 10 - 15 ครั้งต่อวัน โดยนวัตกรรมดังกล่าวประกอบด้วยการทำงานร่วมกันของ 3 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบพยุงน้ำหนัก ด้วยการเสริมแรงบริเวณเบาะนั่งเพื่อลดการออกแรงของผู้สูงอายุ ประกอบกับการดันลำตัวผู้สูงอายุให้สามารถลุกยืนได้ง่ายขึ้น 2. ระบบป้องกันเข่าทรุด ผ่านการติดตั้งสปริงเพื่อลดแรงกระแทกบริเวณข้อและเข่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถลุก-นั่งได้อย่างปลอดภัย และ 3. ระบบวิเคราะห์สมดุลการทรงตัว ใช้ระบบการประเมินผลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเพื่อให้สามารถลุก-นั่งได้ถูกต้องตามหลักชีวกลศาสตร์ ทั้งนี้ นวัตกรรม “ซิท-ทู-สแตนด์” อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาตัวเครื่องให้มีรูปแบบที่สวยงาม และพร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปลายปี 2560 ทั้งเริ่มนำเสนอภาครัฐ เพื่อขยายโอกาสให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศมีโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมที่จะฟื้นฟู รักษา และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ดีขึ้น
Picture

​ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. กล่าวว่า หนึ่งในประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่จะมาพร้อมปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ทำให้มีการคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของเครื่องออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น จะเป็นหลักการใช้ “แรงต้าน” เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่ในทางกลับกัน เครื่องออกกำลังกายของผู้สูงอายุจะต้องใช้ “แรงเสริม” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถเคลื่อนไหวได้
ในปัจจุบัน เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีอยู่ในท้องตลาด และในศูนย์สุขภาพต่างๆ มีการใช้งานที่ลำบากและสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หากใช้งานไม่ถูกวิธี ทีมนักศึกษา 6 คน จาก 2 คณะได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญแบบบูรณาการ และพัฒนาขึ้นเป็น นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกาย ลุก-นั่ง สำหรับผู้สูงอายุ “ซิท-ทู-สแตนด์” จุดเด่น คือ ผู้สูงอายุสามารถใช้ออกกำลังกายได้เอง และสามารถทำได้ทุกวัน นวัตกรรมดังกล่าวจึงกลายเป็น ตัวช่วยนักกายภาพบำบัด ที่มีประสิทธิภาพ
​
Picture

​นางสายรัก สอาดไพร นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. หัวหน้าทีมนักศึกษาเจ้าของผลงาน “ซิท-ทู-สแตนด์” กล่าวว่า การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก จึงได้เริ่มคิดค้นเครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายแบบพื้นฐานที่สุดของผู้สูงอายุคือ การลุก-นั่ง ขึ้นและลงจากเก้าอี้ และพัฒนาขึ้นมาเป็น “ซิท-ทู-สแตนด์” ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของ 3 ระบบ คือ

1. ระบบพยุงน้ำหนัก ด้วยการเสริมแรงบริเวณเบาะนั่งเพื่อลดการออกแรงของผู้สูงอายุ ประกอบกับการดันลำตัวผู้สูงอายุให้สามารถลุกยืนได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุสามารถปรับแรงเสริมได้ตั้งแต่ 20 – 80 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว แล้วแต่ความแข็งแรง และความพร้อมของผู้ใช้งาน 2. ระบบป้องกันเข่าทรุด ผ่านการติดตั้งสปริงเพื่อลดแรงกระแทกบริเวณข้อและเข่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถลุก-นั่งได้อย่างปลอดภัย และ 3. ระบบวิเคราะห์สมดุลการทรงตัว ใช้ระบบการประเมินผลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเพื่อทราบว่า ผู้สูงอายุสามารถลุก-นั่งได้ถูกต้องตามหลักชีวกลศาสตร์หรือไม่
Picture
นางสายรัก สอาดไพร นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. หัวหน้าทีมนักศึกษาเจ้าของผลงาน “ซิท-ทู-สแตนด์” กล่าวว่า การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก จึงได้เริ่มคิดค้นเครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายแบบพื้นฐานที่สุดของผู้สูงอายุคือ การลุก-นั่ง ขึ้นและลงจากเก้าอี้ และพัฒนาขึ้นมาเป็น “ซิท-ทู-สแตนด์” ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของ 3 ระบบ คือ
1. ระบบพยุงน้ำหนัก ด้วยการเสริมแรงบริเวณเบาะนั่งเพื่อลดการออกแรงของผู้สูงอายุ ประกอบกับการดันลำตัวผู้สูงอายุให้สามารถลุกยืนได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุสามารถปรับแรงเสริมได้ตั้งแต่ 20 – 80 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัว แล้วแต่ความแข็งแรง และความพร้อมของผู้ใช้งาน 2. ระบบป้องกันเข่าทรุด ผ่านการติดตั้งสปริงเพื่อลดแรงกระแทกบริเวณข้อและเข่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถลุก-นั่งได้อย่างปลอดภัย และ 3. ระบบวิเคราะห์สมดุลการทรงตัว ใช้ระบบการประเมินผลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเพื่อทราบว่า ผู้สูงอายุสามารถลุก-นั่งได้ถูกต้องตามหลักชีวกลศาสตร์หรือไม่
Picture
ทั้งนี้ นวัตกรรม “ซิท-ทู-สแตนด์” ใช้เวลาในการพัฒนากว่า 2 ปี และได้รับการการันตีด้วย 5 รางวัลจาก 3 เวทีประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ พร้อมทั้งผ่านการจดอนุสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีต้นทุนในการผลิตอยู่ที่ 70,000 บาท และคาดว่าเมื่อผลิตในเชิงพาณิชย์อาจมีราคาถูกลง 50 % ซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในท้องตลาดถึง 3 เท่า และล่าสุด ทีมนักวิจัยได้เตรียมทดสอบการใช้งานจริงกับผู้สูงอายุ (Preclinical Test) ภายในศูนย์ผู้สูงอายุท่าโขลง จ.ปทุมธานี จำนวน 100 คน เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อผู้ป่วย ระหว่างก่อนและหลังการทดสอบ โดยในระหว่างนี้จะเร่งทำการพัฒนาตัวเครื่องให้มีรูปแบบที่สวยงาม และพร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปลายปี 2560 พร้อมๆ ไปกับนำเสนอภาครัฐ เพื่อขยายโอกาสให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศมีโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมที่จะฟื้นฟู รักษา และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ

นางสายรัก กล่าวต่อว่าอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในปี 2563 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ที่จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 12.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 19.1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรรวม 66.0 ล้านคน (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ซึ่งจะมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพในหลากรูปแบบ ทั้งอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาต พาร์กินซัน อัลไซเมอร์ รวมถึงอาการบาดเจ็บจากการผ่าตัดบริเวณข้อหรือเข่า ฯลฯ ส่งผลให้มีปัญหาด้านการลุกยืน การทรงตัว และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หากร่างกายไม่ได้รับการกระตุ้นหรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแล้ว จะยิ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในบางรายอาจลุกลามจนเกิดแผลกดทับได้ เนื่องจากวัยดังกล่าวเมื่ออายุเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ปี ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะลดลงถึง 3 เปอร์เซ็นต์ นางสายรัก กล่าวทิ้งท้าย
Picture
Picture

ที่มา :  ​http://www.thansettakij.com/content/211220
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th