CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

เจ๋ง!นศ.ธรรมศาสตร์คว้ารางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยีระดับโลก ‘ReArm’ รักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อ

9/23/2019

0 Comments

 

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
          ม.ธรรมศาสตร์ ชูนวัตกรรม ReArm รักษาผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและกล้ามเนื้ออ่อนแรง สร้างมิติใหม่การกายภาพบำบัดที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ได้รับรางวัลจากเวที i-CREATe 2019 ประเทศออสเตรเลีย

         ผศ.ดร.บรรยงค์รุ่งเรืองด้วยบุญหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลคณะวิศวกรรมศาสตร์มธ. กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทีม‘ReArm’ ไปสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยอีกครั้งเมื่อได้รับรางวัล Merit Award (Technology) และ Best Prototype ในเวที Global Student Innovation Challenge จากงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือi-CREATe 2019 ณ เมืองแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย

ทีม ReArm ประกอบด้วยนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ได้แก่ นายรมย์ พานิชกุล นายอนัส สุภัคไพศาล นายสิรภพ เจริญภิญโญยิ่ง พร้อมด้วย น.ส.คคนันท์ งามเด่นเจริญศรี นักกายภาพบำบัดและวิศวกรรมทางการแพทย์

สำหรับ ReArm เป็นนวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูและกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงและอัมพาตครึ่งซีกเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีความโดดเด่นด้านงานออกแบบกลไกให้ใช้งานสะดวกมีประสิทธิภาพและน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์การแพทย์รูปแบบเดิมที่สำคัญคือลดภาระค่าใช้จ่ายและไม่เสียเวลาเดินทางเพื่อไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลหรือคลินิก

“ReArm ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้สามารถยกแขนและนิ้วมือต่างๆได้ง่ายขึ้นและเมื่อผู้ป่วยเริ่มเดินได้เองแล้วยังสามารถนำอุปกรณ์นี้ใส่ไว้ที่หลัง (Backpack) เพื่อทำกิจวัตรประจำวันที่บ้านได้เหมือนคนปกติทั่วไปเช่นหยิบแก้วน้ำรดน้ำต้นไม้ฯลฯซึ่งในทางทฤษฎีจะส่งเสริมงานกายภาพบำบัดหรือฟื้นฟูร่างกายได้ดียิ่งขึ้น”

ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าวว่ารางวัลครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จของความร่วมมืออย่างบูรณาการเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์สหเวชศาสตร์และนักกายภาพบำบัดขับเคลื่อนให้นวัตกรรมของนักศึกษามีมิติสร้างสรรค์ไม่แพ้ชาติใดในโลกกระทั่งชนะรางวัลในเวทีประกวด i-CREATe 2019 ซึ่งมีทีมต่างๆเข้าแข่งขันถึง 40 ผลงานจาก 10 ประเทศทั่วโลก อาทิ สวีเดน ออสเตรเลียสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกงฯลฯ

“ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลกเราพร้อมทั้งบุคลากรเครื่องมือและกระบวนการคิดที่ตอบโจทย์ปัญหาสร้าง Startup ระดับนักศึกษาและสร้างนักวิจัยที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทั้งประโยชน์ของสาธารณะและเชิงพาณิชย์ได้”

นายรมย์ พานิชกุล ตัวแทนทีม ReArm กล่าวว่า นวัตกรรมนี้เริ่มจากความสนใจปัญหาผู้ป่วย Stroke จึงลงพื้นที่สัมผัสการทำกายภาพบำบัดของผู้ป่วยจริงๆ ณ โรงพยาบาลและคลินิก เห็นปัญหาการฟื้นฟูแขนที่อ่อนแรงใช้เวลานาน แต่เมื่อร่างกายดีขึ้นแล้วผู้ป่วยส่วนมากจะไม่ไปทำกายภาพต่อที่โรงพยาบาลอีก เพราะมีภาระต้องเดินทางอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ดังนั้นเราจึงคิดค้นนวัตกรรม ReArm ที่พยุงน้ำหนักแขนได้ดีกว่าและทำกายภาพเองที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง มีน้ำหนักเบาเพียง 4 กิโลกรัม นำติดตัวหรือยึดกับโต๊ะทำให้ใช้งานได้สะดวก

“พวกเราภูมิใจมากที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะตัวแทนจากประเทศไทยท่ามกลางทีมต่างๆ จากทั่วโลก รางวัลที่ได้รับในสาขาเทคโนโลยีนี้ ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และทีมนักกายภาพบำบัด ที่ร่วมสนับสนุนงานวิจัยและงานออกแบบสร้างสรรค์ ที่นำมาสู่นวัตกรรม ReArm ในครั้งนี้” นายรมย์ กล่าว

0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th