CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

นวัตกรรมช่วยผู้ป่วยติดเตียง คนไทยทำได้

3/15/2023

0 Comments

 
Picture
 จากการสํารวจผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ตามการคัดกรองความสามารถในการดําเนินชีวิตประจําวัน พบผู้สูงอายุติดเตียงร้อยละ 0.5-1 ของผู้ป่วยทั้งหมด (กรมอนามัย,2565) ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะปัญหาแผลกดทับ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ 
ปัญหาแผลกดทับ ข้อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบอ่อนแรง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ส่งผลต่อทั้งตัวผู้ป่วยที่ต้องทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวด การติดเชื้อ ความวิตกกังวล รวมทั้งญาติและครอบครัวที่ต้องรับภาระดูแลด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ค่าบริการดูแลผู้สูงอายุ อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้สูงอายุติดเตียง 24 ชั่วโมงของสถานบริการต่างๆ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล อยู่ระหว่าง 16,000-40,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว
แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้บ่อยกับผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เป็นภาวะการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ผิวหนังบางลง เนื้อเยื่อสูญเสียความยืดหยุ่นจากการลดลงของการสร้างคอลลาเจนในผิวหนังแท้ทำให้ความสามารถในการกระจายแรงกดทับลดลง จนเกิดเป็นแผลในที่สุด
ทีมนักวิจัยที่ใช้องค์ความรู้สหสาขาวิชาชีพทางด้านสุขภาพ ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมมือกันภายใต้ภารกิจของศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และมีการพัฒนาต่อเนื่องจนปัจจุบันเกิดเป็นนวัตกรรมเตียงพลิกตัว โดยใช้ระบบจอสัมผัสที่มีการติดตั้งระบบแจ้งเตือนการเกิดแผล ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานทางการแพทย์ และได้รับอนุสิทธิบัตรแล้ว 
การพัฒนาเตียงดังกล่าวเริ่มต้นจากเตียงพลิกตะแคงตัวแบบมือหมุน ซึ่งผลการวิจัยพบว่าอัตราการเกิดแผลกดทับลดลง ต่อมาได้พัฒนาเป็นเตียงพลิกตะแคงตัวโดยใช้ระบบไฟฟ้า ซึ่งได้รับอนุสิทธิบัตรและได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
รวมทั้งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดแผลและเพิ่มอัตราการหายของแผล รวมทั้งการช่วยลดภาระของผู้ดูแลได้


ในปี 2566 นี้ ทีมวิจัยมีโครงการที่จะพัฒนาชุดนวัตกรรมแบบใช้งานร่วมกับระบบ IOT (Internet of Things) ที่สามารถสื่อสารระหว่างเตียง ผู้ป่วย ผู้ดูแล และทีมสุขภาพ ในการช่วยส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายจากสภาวะของโรค ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง 
เตียงพลิกตัวระบบอัตโนมัตินี้ เป็นเตียงที่ใช้ระบบจอสัมผัสควบคุม สามารถปรับระดับพลิกตะแคงตัวซ้ายและขวา ปรับให้หัวเตียงสูงและปรับข้อเข่างอได้ เป็นการพัฒนาเตียงจากการศึกษาบริบทการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน และวิเคราะห์ความต้องการจริงๆ ของผู้ป่วย 
นักวิจัยได้ศึกษาข้อดี ข้อด้อยของเตียงแต่ละชนิดที่ผ่านมาทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น ราคา วัสดุ ความแข็งแรงทนทาน ความเสี่ยง/อันตรายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อจัดการภาวะแทรกซ้อนที่เกิดบ่อยๆ ทั้งยังเปรียบเทียบอัตราการเกิดแผลกดทับกับเตียงผู้ป่วยปกติ ศึกษาความพึงพอใจของผู้ดูแล
(ปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย/สูงอายุด้วยกันเองเพิ่มมากขึ้น จึงไม่มีแรงพอจะยกตัวผู้ป่วยพลิก) รวมทั้งเปรียบเทียบต้นทุนต่อวัน ที่รวมค่าเสียโอกาสของผู้ดูแลที่ต้องหยุดงานอยู่บ้าน พบว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปในทิศทางที่ช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลทั้งระบบ 
การทำงานของนักวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาชีพตามโครงการนี้ นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทางด้านสุขภาพในสังคมไทย เป็นการจุดความหวัง ที่ประเทศไทยจะสามารถผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และสุขภาพออกไปจำหน่ายในตลาดโลก หรือทดแทนการนำเข้า เป็นการสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์และสร้างประโยชน์สุขในเชิงสาธารณะได้เป็นอย่างดี
อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในไทยที่ครอบคลุมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีมูลค่าราว 1.2% ของ GDP (อ้างอิงข้อมูลปี 2563) รายงานในปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า
เงินลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ของโลกในปี พ.ศ. 2563 จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 6.5 พันล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้า ปัจจุบันประเทศทั่วโลกต่างยอมรับและมีการนำนวัตกรรมด้าน Digital Health มาใช้กันมากขึ้น
ไม่เพียงเตียงพลิกตัวระบบอัตโนมัตินี้เท่านั้น ยังมีงานวิจัยและพัฒนาอื่นๆ ที่นำไปสู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย เป็นความหวังที่สำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม และการรับมือกับสังคมสูงวัย รวมถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่รัฐควรให้การสนับสนุนอย่างเร่งด่วน เพราะคนไทยทำได้และทำให้เห็นแล้ว.

​https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1057986?fbclid=IwAR2f2xEAwMdEYDyyPSC6iF7PuNHrTcU-Vy4LT0SXoJKIln7dGUKSeaVDlB4
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    March 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th