CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

'สเปซ วอล์คเกอร์' สตาร์ทอัพสายสุขภาพ : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

9/19/2017

0 Comments

 
Picture

'สเปซ วอล์คเกอร์' (Space Walker) นวัตกรรมทางการแพทย์จากนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     “สเปซ วอล์คเกอร์” (Space Walker) อุปกรณ์กายภาพบำบัดผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง นวัตกรรมทางการแพทย์จากนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้าชนะเลิศการออกแบบ “นวัตกรรมสำหรับบ้านผู้สูงอายุ” ตั้งเป้า ต.ค.2561 ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการผ่านช่องทางออนไลน์และตัวแทนจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    “อุปกรณ์กายภาพบำบัดในประเทศไทยยังขาดแคลน ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าในราคาแพง หากสามารถพัฒนาและผลิตในประเทศได้จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่ายขึ้นในราคาไม่แพง ทั้งสร้างรายได้เข้าประเทศในอนาคต ยกตัวอย่าง ผลงานสเปซวอร์คเกอร์ของเมืองนอกราคาหลักแสน แต่เมื่อนำมาดัดแปลงให้เหมาะกับคนไทย ราคาลดลงเหลือไม่กี่หมื่นเท่านั้น” วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร ผู้ร่วมพัฒนาสเปซ วอล์คเกอร์ กล่าว

        
ฟื้นฟูกล้ามเนื้ออ่อนแรง
       
วอล์คเกอร์ช่วยเดินเป็นหนึ่งในอุปกรณ์พื้นฐานกายภาพบำบัดเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ปัญหาที่พบคือ อุปกรณ์ไม่มีระบบพยุงน้ำหนัก จึงเกิดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยซึ่งกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะหกล้มขณะทำการฝึกเดิน ในต่างประเทศมีอุปกรณ์เป็นเครื่องไดนามิกส์ช่วยพยุงน้ำหนักผู้ป่วยขณะเดินตามราง จึงตัดปัญหาการหกล้มได้เบ็ดเสร็จวรัตถ์ และกลุ่มเพื่อน เกิดแนวคิดในการพัฒนาเครื่องกายภาพบำบัดที่มีระบบยกน้ำหนักและสามารถนำไปฝึกที่บ้านได้ เนื่องจากการทำกายภาพที่ดีควรฝึกทุกวัน โอกาสจะหายเร็วขึ้นแทนที่จะรอใช้บริการของโรงพยาบาล สัปดาห์ละ 3 ครั้งซึ่งไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูกล้ามเนื้อ การออกแบบเครื่องนี้ได้ทำงานร่วมกับภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ เพื่อให้อุปกรณ์กายภาพบำบัดผู้ป่วยสูงวัยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงออกมามีความสมบูรณ์รอบด้าน
“เราคิดหาไอเดียที่แตกต่างด้วยการเสิร์ชหาข้อมูลจำนวนมากในการพัฒนาระบบให้ใช้งานง่าย พร้อมกับสร้างเครื่องต้นแบบและทำการทดสอบผู้ป่วยหลากหลายเคส เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบ ผู้ที่มีอาการสมองพิการมาแต่กำเนิดและผู้ที่ไขสันหลังบาดเจ็บ เป็นต้น” วรัตถ์ กล่าว
จากการทดสอบเปรียบเทียบกับวอล์คเกอร์ช่วยเดินทั่วไปพบว่า ผู้ป่วยไม่กล้าเดินออกนอกบ้านด้วยวอล์คเกอร์เพราะกลัวล้ม แต่เมื่อได้ลองใช้สเปซวอล์คเกอร์ก็สามารถเดินได้โดยไม่กังวลการล้ม ทำให้กล้าฝึกเดินมากขึ้น กลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้ที่ผ่านการฝึกกายภาพบำบัดมาแล้วแต่ขาไม่มีแรง สามารถใช้สเปซวอล์คเกอร์ช่วยในการออกกำลังกาย แทนที่จะนั่งหรือนอนทั้งวันจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
วรัตถ์ กล่าวว่า หลังจากนี้จะทำการทดสอบในผู้ป่วยและเก็บข้อมูลอย่างเป็นทางการ เพื่อประกอบการทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐานไอเอสโอ ส่วนต้นทุนเครื่องต้นแบบประมาณ 4 หมื่นบาทต่ำกว่าเครื่องนำเข้า 30 เท่าแต่ประสิทธิภาพการใช้งานเหมือนกัน
ส่วนแผนการต่อไปจะพัฒนาเตียงลดแผลกดทับที่สามารถปรับทั้งซ้ายขวาและปรับนอน/ยืนได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงเครื่องมือกายภาพได้ง่ายขึ้น จากที่ของนำเข้าที่ใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดในราคาหลักแสน เมื่อนำมาปรับใช้เป็นระบบแมนนวลราคาจะลดลงเหลือหลักหมื่นเท่านั้น
เวทีสร้างคนสตาร์ทอัพ
      สำหรับโครงการประกวด ITCi Award 2017 โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ Autodesk Thailand เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพในการผลิตนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงวัย รวมทั้งเป็นการผลักดันให้เกิดการสร้างเครือข่ายและกิจกรรมภายในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC) เพื่อให้เป็นโค-เวิร์คกิ้งสเปซ โดยเฉพาะในส่วนของ ITC-innovate ที่รวบรวมเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับการผลิตชิ้นงานต้นแบบเชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการและผลักดันประเทศไทยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจทั้งในประเทศและตลาดโลก
ผลงานชนะเลิศได้รับเงินรางวัลมูลค่า 2 แสนบาทและได้ไปทัศนศึกษาที่ญี่ปุ่น ทางคณะกรรมการพิจารณาเห็นความโดดเด่นของผลงาน และต้นแบบมีความสมบูรณ์พร้อมนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ก่อนหน้านี้ก็ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเวทีการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ i-CREATe 2017 ประเทศญี่ปุ่น 
ส่วนรางวัลที่ 2 ผลงาน Sit to Stand เครื่องมือช่วยออกกำลังกายและกายภาพบำบัดสำหรับการฝึกลุกยืน และรางวัลที่ 3 ผลงานนวัตกรรมหุ่นยนต์เคลื่อนที่สำหรับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ
Picture
หนังสือพิมพ์ : กรุงเทพธุรกิจ 
ฉบับวันอังคารที่ 19 กันยายน 2560
0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    March 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th