CED2
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact
  • Home
  • EVENTS
  • CED-Square on The Press
  • PROJECTS
    • Medical Innovations
    • Automotive Innovations
    • Agricultural Innivations
  • publications and patents
    • Conference
    • Journal Publications
    • Patents
  • ABOUT
  • Contact

วีลแชร์ปรับยืนได้ฝีมือคนไทย

2/28/2023

0 Comments

 
Picture
วีลแชร์ช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชนและการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพในสังคม
นวัตกรรมวีลแชร์แบบปรับยืนได้ฝีมือคนไทย ผลงานของ บริษัท ซีเมดเมดิคอล จำกัด (CMed Medical เป็นสตาร์ตอัปจากนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง ในการส่งเสริมธุรกิจของโครงการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สกอ.) มีข้อพิเศษคือสามารถปรับจากท่านั่งที่เป็นรถเข็นหรือวีลแชร์แบบธรรมดา มาเป็นท่ายืนได้โดยตัวผู้ใช้เอง และไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1055307
ธีรพงศ์ สมุทรอัษฎงค์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ซีเมดเมดิคอล จำกัด ชี้แจงว่า จุดเริ่มต้นของการคิดค้นนวัตกรรมนี้มาจากการตั้งโจทย์ที่แตกต่างที่ว่า ทำไมวีลแชร์ถึงยืนไม่ได้
เพราะที่เห็นอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปจะเป็นวีลแชร์ที่เป็นแบบนั่งเท่านั้น จึงนำมาสู่การปรับปรุงพัฒนาและศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้วีลแชร์ตัวหนึ่งที่เป็นวีลแชร์ปกติสามารถปรับยืนได้ 
วีลแชร์ปรับยืนได้นี้ได้รับการออกแบบทางกลไกสำหรับช่วยผ่อนแรงในการยก ซึ่งใช้กระบอกแก๊สสปริงในการเสริมแรง และช่วยในการยืนสำหรับผู้ป่วยที่แขนมีแรงทั้ง 2 ข้างสามารถใช้แรงแขนยกตัวขึ้นเองได้
หรือสำหรับผู้ป่วยอัมพาตระดับสูงที่ไม่สามารถควบคุมแขนได้ก็สามารถยืนได้โดยมีผู้ช่วย ซึ่งมุมการยืนที่ตั้งขึ้นมาจะอยู่ที่ 80 องศา และสามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้ที่ 50 ถึง 90 กิโลกรัม

แนวคิดการพัฒนาวีลแชร์ปรับยืนนี้เริ่มขึ้น เมื่อธีรพงศ์ศึกษาระดับปริญญาโท ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์
และหัวหน้าศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (Center of Excellence in Creative Engineering Design and Development หรือ CED-Square) เป็นที่ปรึกษา 
ศูนย์นี้มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาหลักของประเทศผ่านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ ในรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา
โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมทางด้านสุขภาพเพื่อคนที่ด้อยโอกาสในประเทศไทย และเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้สามารถนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อสร้างมูลค่าทั้งในรูปแบบเชิงพาณิชย์และสร้างประโยชน์สุขเชิงสาธารณะ 
ในช่วงแรกจะเน้นการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย คนพิการและผู้สูงอายุ และเพิ่มช่องทางเพื่อนำผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์เพื่อนำรายได้กลับมาเป็นทุนวิจัยทำให้เกิดวงจรงานวิจัยที่ยั่งยืน
ผศ.สายรัก สอาดไพร อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการกีฬาและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ผู้ร่วมศึกษาวิจัยที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศฯ ระบุว่า 
“การมีอุปกรณ์รูปแบบนี้เข้ามาเสริมในตลาด นอกจากจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคแล้ว ที่สำคัญยังทำให้ผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุนั้นมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะการยืนถือเป็นการทำกายภาพบำบัดอย่างหนึ่ง ช่วยลดและป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนั่งนานๆ ลดปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงมากขึ้น ป้องกันโรคกระดูกพรุน และช่วยให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น นอกจากจะเป็นตัวช่วยที่ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้แล้ว

บริษัท ซีเมดเมดิคอล จำกัด เป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมนี้ ที่สามารถพัฒนาวีลแชร์ปรับยืนที่มีน้ำหนักเบาเพียง 21 กิโลกรัม ถือว่ามีน้ำหนักน้อยเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอันดับ 1 ที่หนัก 11 กิโลกรัม
ในขณะที่สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยนั้นจะมีน้ำหนักค่อนข้างมากประมาณ 90 ถึง 150 กิโลกรัมขึ้นไปเพราะต้องใช้ระบบไฟฟ้าที่เหมาะกับสังคมที่ผู้ใช้อยู่คนเดียว
แต่ที่บริษัทผลิตนั้นยืนได้ง่าย ยืนได้เร็วและยืนได้ด้วยตัวของผู้ใช้เองหรืออาจมีคนในบ้าน ในครอบครัวเป็นผู้ช่วยในการปรับยืน แม้จะมีข้อจำกัดอยู่ที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้ที่มีขาทั้ง 2 ขาแบบสมบูรณ์แต่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้สึก 

​นอกจากวีลแชร์แบบปรับยืนได้ในปัจจุบันที่มีความเหมาะสมกับสรีระของผู้ใหญ่แล้วนั้น การออกแบบให้เหมาะกับผู้ใช้ที่เป็นเด็กก็มีความจำเป็นเนื่องจาก
ความแตกต่างทางด้านร่างกายที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ ประกอบกับผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่จะมีสภาวะพิการทางสมอง ซึ่งต้องการการออกแบบที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต

0 Comments



Leave a Reply.

    Archives

    March 2023
    February 2023
    November 2022
    March 2022
    October 2021
    September 2021
    August 2021
    July 2021
    May 2021
    March 2021
    February 2021
    January 2021
    December 2020
    September 2020
    August 2020
    July 2020
    February 2020
    January 2020
    October 2019
    September 2019
    June 2019
    December 2018
    November 2018
    October 2018
    September 2018
    August 2018
    July 2018
    May 2018
    February 2018
    January 2018
    December 2017
    November 2017
    October 2017
    September 2017
    August 2017
    June 2017
    March 2017
    January 2017
    December 2016
    November 2016
    August 2016
    July 2016
    June 2016
    May 2016
    April 2016
    March 2016
    January 2016
    December 2015
    October 2015
    September 2015
    May 2014
    May 2013
    February 2013
    January 2013
    July 2012
    May 2012
    March 2012
    October 2009
    June 2009
    December 2008
    June 2008
    December 2007

    RSS Feed

We Would Love to Have You Visit Soon!


Hours

M-F: 7am - 7pm

Telephone

+66-(0)-2564-3001 ถึง 9 ต่อ 3247

Email

rbunyong@engr.tu.ac.th